--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
องค์กร (Organization) คือ โครงสร้างทางสังคมที่ได้จัดตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการ
มีความมั่นคง คณะทำงานในองค์กรจะร่วมแรงร่วมใจในการทำงานอย่างมีระบบ มีกฎเกณฑ์
ข้อบังคับ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายแห่งความสำเร็จ
♦ตามความหมายทางเทคนิค องค์กร หมายถึง โครงสร้างทางสังคมอย่างเป็นทางการที่มีความมั่นคง โดยรับเอาทรัพยากรจากสิ่งแวดล้อมผ่านกระบวนการเพื่อสร้างหรือผลิตผลลัพธ์ องค์ประกอบขององค์การ 3 ส่วน คือ
♦ตามความหมายทางเทคนิค องค์กร หมายถึง โครงสร้างทางสังคมอย่างเป็นทางการที่มีความมั่นคง โดยรับเอาทรัพยากรจากสิ่งแวดล้อมผ่านกระบวนการเพื่อสร้างหรือผลิตผลลัพธ์ องค์ประกอบขององค์การ 3 ส่วน คือ
1.ปัจจัยหลักการด้านการผลิต
ได้แก่ เงินทุนและแรงงาน
2.กระบวนการผลิต
ซึ่งจะเปลี่ยนสิ่งนำเข้าให้เป็นผลิตภัณฑ์
3.ผลผลิต ได้แก่
สินค้าและบริการ
♦ตามความหมายในเชิงพฤติกรรม องค์กร หมายถึง บุคลากรในองค์กรจะพัฒนาวิธีการทำงานของตน มีรูปแบบความสัมพันธ์กับบุคคลอื่นทั้งผู้ร่วมงาน และผู้ที่อยู่ในระดับที่สูงกว่าเกี่ยวกับการทำงาน ปริมาณงาน และเงื่อนไขในการทำงาน
ความสัมพันธ์ระหว่างสารสนเทศและองค์กร
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
สาเหตุของการต่อต้านการใช้สารสนเทศของคนในองค์กรและวิธีการนำระบบมาใช้ให้ประสบความสำเร็จ
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
เกิดจากต้องทำความเข้าใจต่อบทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีต่อธุรกิจปัจจุบัน เพื่อให้มีความรู้ทักษะ และความเข้าใจในขีดความสามารถและศักยภาพของเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยการจัดฝึกอบรมหรือบรรยายพิเศษ อีกทั้งสารสนเทศยังก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงรูปแบบ โครงสร้างการทำงานของบุคคลในองค์กร
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
2.ความแตกต่างของผลิตภัณฑ์ ใช้ระบบสารสนเทศเพื่อคิดและสร้างผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ ๆ หรือเพิ่มความสะดวกสบายของลูกค้าในการใช้ผลิตภัณฑ์และบริการที่มีอยู่ให้ดียิ่งขึ้น
3.มุ่งเน้นที่ระบบข้อมูลช่องทางการตลาด ทำให้บริษัทสามารถวิเคราะห์รูปแบบการซื้อของลูกค้า รสนิยม และความต้องการได้อย่างใกล้ชิด เพื่อให้แคมเปญโฆษณาและการตลาดมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เจาะตลาดมากยิ่งขึ้น
4.ความสัมพันธ์กับลูกค้าและซัพพลายเออร์ ใช้ระบบข้อมูลเพื่อพัฒนาความผูกพันและความภักดีกับลูกค้าและซัพพลายเออร์
กลยุทธ์การแข่งขันขององค์กรกับการนำระบบสารสนเทศมาใช้
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ความเป็นผู้นำต้นทุนต่ำ (Lower Costs)
-ใช้ระบบสารสนเทศเพื่อลดต้นทุนในส่วนของกระบวนการธุรกิจ
-ใช้ระบบสารสนเทศเพื่อลดต้นทุนแก่ลูกค้าหรือผู้ขายปัจจัยการผลิต
ด้านความแตกต่างของผลิตภัณฑ์ (Differentiate)
ความต้องการสารสนเทศต่อแต่ละบทบาทของผู้บริหาร
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
♦ตามความหมายในเชิงพฤติกรรม องค์กร หมายถึง บุคลากรในองค์กรจะพัฒนาวิธีการทำงานของตน มีรูปแบบความสัมพันธ์กับบุคคลอื่นทั้งผู้ร่วมงาน และผู้ที่อยู่ในระดับที่สูงกว่าเกี่ยวกับการทำงาน ปริมาณงาน และเงื่อนไขในการทำงาน
ความสัมพันธ์ระหว่างสารสนเทศและองค์กร
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
เทคโนโลยีสารสนเทศมีความสำคัญต่อประสิทธิภาพขององค์กรหรือธุรกิจ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัจจุบันโลกมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา มีการแข่งขันทางธุรกิจสูง
องค์กรที่มีการบริหารงานที่มีประสิทธิภาพ สามารถเข้าถึงข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว
ย่อมทำให้องค์กรสามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้ ดังนั้นการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในองค์กร
เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์ องค์กรสร้างความแข็งแกร่ง
เพิ่มประสิทธิในการผลิตสินค้าและบริการนำสู่ธุรกิจยุคใหม่ต่อไป ประเภทของระบบสารสนเทศที่สำคัญ 3 ประเภท ดังนี้
1.ระบบสารสนเทศจำแนกตามประเภทของธุรกิจ
: โดยจะต้องออกแบบให้สอดคล้องและเหมาะสมกับลักษณะงานขององค์การเหล่านั้น
ระบบสารสนเทศที่จำแนกตามประเภทของธุรกิจ
โดยทั่วไปจะเป็นระบบสารสนเทศขนาดใหญ่ที่ประกอบด้วยระบบสารสนเทศที่จำแนกตามหน้าที่ย่อยๆ
หลายระบบ
2.ระบบสารสนเทศจำแนกตามหน้าที่ของงาน :
จะเป็นระบบที่จำแนกตามลักษณะหรือหน้าที่ของงานหลัก
ซึ่งแต่ละระบบสามารถประกอบด้วยระบบสารสนเทศย่อยๆ ที่เป็นกิจกรรมของงานหลัก
3.ระบบสารสนเทศจำแนกตามลักษณะการดำเนินงาน :
จะถูกออกแบบให้มีความสอดคล้องกับลักษณะงานและระดับของผู้ใช้งานเพื่อให้สอดคล้องกับการนำสารสนเทศไปใช้ประกอบการบริหารและตัดสินใจ
♦ผลกระทบจากการนำสารสนเทศมาใช้กับองค์กร
องค์การที่เจริญเติบโตในอนาคตต้องสามารถประยุกต์เทคโนโลยีเข้าไปในโครงสร้างการบริหารงาน
และการติดต่อสื่อสารโดยเทคโนโลยีสารสนเทศเปรียบเสมือนเส้นประสาทของธุรกิจ แต่การประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศในองค์การจะส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานและบุคลากรมากกว่าการเพิ่มประสิทธิภาพ
หรือการลดขั้นตอนในการทำงาน
การจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศจะเกี่ยวข้องกับจริยธรรมและความรับผิดชอบต่อส่วนรวม
เช่น การไหลเวียนของข้อมูลผ่านขอบเขตขององค์การและเขตแดนของประเทศ
การติดตามผลและตรวจสอบการทำงานกับความเป็นส่วนตัวของพนักงาน
การทุจริตหรือฉ้อโกงในระบบเครือข่าย การก่อนการร้ายหรือการโจรกรรมซึ่งผู้บริหารจะต้องติดตามทำความเข้าใจในศักยภาพและผลกระทบของเทคโนโลยีที่มีต่อองค์การและสังคม
เพื่อให้เลือกใช้เทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์สูงสุดและก่อให้เกิดผลกระทบในด้านลบน้อยที่สุดต่อองค์การและสังคมแวดล้อม
สรุปแล้วระบบสารสนเทศมีผลกระทบต่อกระบวนการทำงานและโครงสร้างขององค์การดังนี้
1. ลดระดับขั้นของการจัดการ
2. มีความคล่องตัวในการดำเนินงาน
3. ลดขั้นตอนการดำเนินงาน
4. เปลี่ยนแปลงกระบวนการจัดการ
5. กำหนดขอบเขตการดำเนินงานใหม่
สาเหตุของการต่อต้านการใช้สารสนเทศของคนในองค์กรและวิธีการนำระบบมาใช้ให้ประสบความสำเร็จ
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
เกิดจากต้องทำความเข้าใจต่อบทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีต่อธุรกิจปัจจุบัน เพื่อให้มีความรู้ทักษะ และความเข้าใจในขีดความสามารถและศักยภาพของเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยการจัดฝึกอบรมหรือบรรยายพิเศษ อีกทั้งสารสนเทศยังก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงรูปแบบ โครงสร้างการทำงานของบุคคลในองค์กร
♦ออกแบบระบบให้ประสบผลสำเร็จต้องคำนึงถึง
-สภาพแวดล้อมการทำงานในองค์กร
-ดูโครงสร้างขององค์กรแบ่งตามความเชี่ยวชาญในการทำงานและกระบวนการทางธุรกิจ
-วัฒนธรรม กฎระเบียบขององค์กร
-ประเภทขององค์กรและการเป็นผู้นำ
-ผลกระทบจากการใช้สารสนเทศต่อผู้ใช้งานและทัศนคติผู้ใช้งานต่อระบบ
-ศึกษาประเภทของงาน กระบวนการทางธุรกิจที่ระบบสารสนเทศสามารถรองรับได้
แรงผลักดันในการแข่งขันของ Porter’s competitive forces model -สภาพแวดล้อมการทำงานในองค์กร
-ดูโครงสร้างขององค์กรแบ่งตามความเชี่ยวชาญในการทำงานและกระบวนการทางธุรกิจ
-วัฒนธรรม กฎระเบียบขององค์กร
-ประเภทขององค์กรและการเป็นผู้นำ
-ผลกระทบจากการใช้สารสนเทศต่อผู้ใช้งานและทัศนคติผู้ใช้งานต่อระบบ
-ศึกษาประเภทของงาน กระบวนการทางธุรกิจที่ระบบสารสนเทศสามารถรองรับได้
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
คือเครื่องมือสำหรับวิเคราะห์คู่แข่ง
สภาพแวดล้อมการแข่งขัน
เพื่อวางแผนกลยุทธ์ของกิจการและปัจจัยที่สำคัญต่อการดำเนินธุรกิจ โดยมี Michael
E. Porter เป็นผู้คิดทฤษฎีนี้
1. New Market Entrants (การเข้ามาของคู่แข่งรายใหม่) เป็นภัยคุกคามที่ร้ายแรง เพราะจะทำให้ส่วนแบ่งทางการตลาดของธุรกิจลงลด การที่ผู้ประกอบการเลือกทำธุรกิจที่มีคูล้อมรอบ (Moat) จะทำให้คู่แข่งรายใหม่เข้ามาในตลาดได้ยาก คูล้อมรอบธุรกิจได้แก่ ตราสินค้าที่แข็งแกร่ง ฐานลูกค้าที่จงรักภักดีในแบรนด์สินค้าความสามารถในบริหารต้นทุน ฯลฯ การเข้ามาของคู่แข่งอาจจะส่งผลกระทบต่อรายได้ของกิจการ ดังนั้นผู้บริหารจะต้องมีการวิเคราะห์งบการเงินทั้งกิจการตนเอง และคู่แข่ง (ถ้าสามารถหาได้ ซึ่งสามารถเข้าถึงได้จากเว็บไซต์ของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า และบริษัทเอกชนที่ให้บริการข้อมูล ซึ่งอาจมีค่าใช้จ่าย)
1. New Market Entrants (การเข้ามาของคู่แข่งรายใหม่) เป็นภัยคุกคามที่ร้ายแรง เพราะจะทำให้ส่วนแบ่งทางการตลาดของธุรกิจลงลด การที่ผู้ประกอบการเลือกทำธุรกิจที่มีคูล้อมรอบ (Moat) จะทำให้คู่แข่งรายใหม่เข้ามาในตลาดได้ยาก คูล้อมรอบธุรกิจได้แก่ ตราสินค้าที่แข็งแกร่ง ฐานลูกค้าที่จงรักภักดีในแบรนด์สินค้าความสามารถในบริหารต้นทุน ฯลฯ การเข้ามาของคู่แข่งอาจจะส่งผลกระทบต่อรายได้ของกิจการ ดังนั้นผู้บริหารจะต้องมีการวิเคราะห์งบการเงินทั้งกิจการตนเอง และคู่แข่ง (ถ้าสามารถหาได้ ซึ่งสามารถเข้าถึงได้จากเว็บไซต์ของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า และบริษัทเอกชนที่ให้บริการข้อมูล ซึ่งอาจมีค่าใช้จ่าย)
2. Substitute Products.(สินค้าทดแทน)
ผู้ประกอบการจะต้องพิจารณาว่าลูกค้าสามารถหาสินค้าทดแทนได้ยากง่ายเพียงใด การเปลี่ยนไปใช้สินค้าทดแทนมีความยากง่ายเพียงใด
ระดับราคาและคุณภาพของสินค้าทดแทน
3. Customer (การต่อรองของลูกค้า)ผู้ประกอบการต้องสร้าง
คุณค่าในตัวสินค้า(คุณค่าของสินค้าคือประโยชน์ที่ลูกค้าได้รับจากการใช้งานผลิตภัณฑ์)
เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า หากกิจการต้องพึ่งพิงลูกค้ารายใหญ่เพียงไม่กี่รายนั้นเป็นความเสี่ยงที่ลูกค้าสามารถต่อรองราคาสินค้าและบริการได้
ซึ่งจะทำให้กำไรของกิจการลดลง ผู้ประกอบการจะต้องกำหนดกลุ่มลูกค้าที่ชัดเจน
นอกจากนั้นผู้ประกอบการจะต้องสร้างแบรนด์สินค้าให้แข็งแกร่ง
4. Suppliers หรือ ซัพพลายเออร์ (ช่องทางผู้จัดหาวัตถุดิบ)
ผู้ประกอบการจะต้องพิจารณาในสภาพวาดล้อมของธุรกิจว่ามีผู้จัดจำหน่ายรายใดมีอำนาจต่อรองได้สูง
การรวมกลุ่มของผู้ประกอบการจะทำให้มีอำนาจต่อรองกับผู้จัดหาปัจจัยการผลิต
ระบบสารสนเทศมีบทบาทต่อกลยุทธ์การบริหารอย่างไร
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
1.ความเป็นผู้นำต้นทุนต่ำ ใช้ระบบสารสนเทศเพื่อให้ได้ต้นทุนการดำเนินงานที่ต่ำสุดและราคาต่ำสุดระบบสารสนเทศมีบทบาทต่อกลยุทธ์การบริหารอย่างไร
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
2.ความแตกต่างของผลิตภัณฑ์ ใช้ระบบสารสนเทศเพื่อคิดและสร้างผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ ๆ หรือเพิ่มความสะดวกสบายของลูกค้าในการใช้ผลิตภัณฑ์และบริการที่มีอยู่ให้ดียิ่งขึ้น
3.มุ่งเน้นที่ระบบข้อมูลช่องทางการตลาด ทำให้บริษัทสามารถวิเคราะห์รูปแบบการซื้อของลูกค้า รสนิยม และความต้องการได้อย่างใกล้ชิด เพื่อให้แคมเปญโฆษณาและการตลาดมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เจาะตลาดมากยิ่งขึ้น
4.ความสัมพันธ์กับลูกค้าและซัพพลายเออร์ ใช้ระบบข้อมูลเพื่อพัฒนาความผูกพันและความภักดีกับลูกค้าและซัพพลายเออร์
กลยุทธ์การแข่งขันขององค์กรกับการนำระบบสารสนเทศมาใช้
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ความเป็นผู้นำต้นทุนต่ำ (Lower Costs)
-ใช้ระบบสารสนเทศเพื่อลดต้นทุนในส่วนของกระบวนการธุรกิจ
-ใช้ระบบสารสนเทศเพื่อลดต้นทุนแก่ลูกค้าหรือผู้ขายปัจจัยการผลิต
ด้านความแตกต่างของผลิตภัณฑ์ (Differentiate)
-พัฒนาคุณลักษณะเด่นต่างๆ ทางระบบสารสนเทศ
เพื่อประโยชน์ต่อการผลิตสินค้าและบริการต่างๆ ให้มีความแตกต่างกันออกไป
-ใช้คุณลักษณะเด่นของระบบสารสนเทศในการลดข้อได้เปรียบจากความแตกต่างในตัวสินค้าของคู่แข่งขัน
-ใช้คุณลักษณะเด่นของระบบสารสนเทศในการเปิดตัวสินค้าและบริการให้แก่ตลาดเฉพาะกลุ่ม
ด้านนวัตกรรม (Innovation)
-สร้างสินค้าและบริการใหม่ๆ
ด้วยการนำส่วนประกอบของระบบสารสนเทศมาใช้
- พัฒนาตลาดที่มีเอกลักษณ์เฉพาะหรือตลาดเฉพาะกลุ่ม
ด้วยการนำระบบสารสนเทศเข้ามาช่วย
- เปลี่ยนแปลงกระบวนการทางธุรกิจแบบใหม่ทั้งหมด
ด้วยการนำระบบสารสนเทศเข้ามาใช้ เพื่อลดต้นทุน
ปรับปรุงคุณภาพและเพิ่มประสิทธิภาพให้ดียิ่งขึ้น
ด้านการเติบโต (Promote Growth)
-ใช้ระบบสารสนเทศเพื่อบริหารจัดการธุรกิจให้ขยายตัวยิ่งขึ้น
ซึ่งครอบคลุมทั้งส่วนภูมิภาค จนถึงระดับโลก
-ใช้ระบบสารสนเทศในการสร้างสินค้าหรือบริการใหม่ๆ
ให้มีความหลากหลาย รวมถึงการขยายธุรกิจไปยังธุรกิจอื่นๆ
ที่ยังคงเกี่ยวข้องกับธุรกิจเดิมอยู่
ด้านการสร้างพันธมิตร (Develop Alliances)
-ใช้ระบบสารสนเทศในการสร้างองค์กรเสมือนของหุ้นส่วนที่ทำธุรกิจร่วมกัน
-พัฒนาระบบสารสนเทศระดับองค์กรแบบสากล
ที่สามารถเชื่อมโยงผ่านอินเตอร์เน็ต และเอ็กซ์ทราเน็ต
เพื่อสนับสนุนกลยุทธ์ทางธุรกิจในด้านของการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างลูกค้า
ผู้ขายปัจจัยการผลิต ผู้รับเหมาช่วง และอื่นๆ
ความหมายและหน้าที่ของการจัดการ
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ความหมายและหน้าที่ของการจัดการ
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
การจัดการ (Management) หมายถึง กระบวนการที่จะทำให้บรรลุถึงเป้าหมายขององค์กร
ซึ่งเป็นภารกิจของบุคคลหนึ่งหรือหลายคนที่เข้ามาทำหน้าที่ประสานทรัพยากรต่างๆขององค์กร
และความพยายามของสมาชิกทำให้เกิดกิจกรรมต่างๆที่นำไปสู่การบรรลุความสำเร็จขององค์กร
โดยการวางแผนการจัดองค์กร การจัดคนเข้าทำงานการ อำนวยการและการควบคุมทรัพยากรขององค์กร
ซึ่งต้องเผชิญกับสภาพแวดล้อมภายนอกองค์กรที่มีการแข่งขันมากขึ้น ทรัพยากรลดลง การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วของเทคโนโลยี
การตอบสนองต่อวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน การเผชิญกับข้อจำกัดทางกฎหมายและความต้องการของลูกค้าที่เปลี่ยนแปลง
♦หน้าที่ทางการจัดการโดยทั่วไปแบ่งออกเป็น 5 ประการคือ
1.การวางแผน ( planning ) เป็นการกำหนดแนวทางการดำเนินงานขององค์กรในอนาคตในลักษณะของแผนงานอย่างกว้างๆผลลัพธ์ที่ได้มาจะเป็นรูปแบบวิธีการดำเนินงานระยะเวลาและทรัพยากรที่ใช้ในการดำเนินงาน
2.การจัดองค์กร(Organizing) เป็นการกำหนดโครงสร้างขององค์กรเพื่อแสดงให้เห็นความสำคัญของงาน แสดงให้เห็นถึงการใช้อำนาจหน้าที่และการตัดสินใจเพื่อการดำเนินกิจกรรมต่างๆขององค์กร
3.การจัดคนเข้าทำงาน (Staffing)
เป็นการจัดสรรบุคลากรให้เหมาะสมกับการปฏิบัติงาน ประเมินผลงานของพนักงาน กำหนดสิ่งตอบแทนการทำงานของพนักงาน และเพิ่มพูนความรู้ความสามารถของพนักงานให้สูงขึ้น ซึ่งเป็นผลให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
4.การอำนวยการ (Directing) เป็นการสั่งการหรือให้แนวทางแก่ผู้ใต้บังคับบัญชาในเรื่องที่เกี่ยวกับงานที่มอบหมายให้ผู้บริหารต้องประสานงานระหว่างทีมงานให้เป็นไปอย่างสะดวกและรวดเร็ว โดยใช้การสื่อสารรูปแบบที่เหมาะสม รวดเร็วและประหยัดต่อองค์กร
5.การควบคุม (Controlling) เป็นการควบคุมให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างเหมาะสมคุ้มกับการลงทุน ผู้บริหารต้องพิจารณาว่าจะเลือกใช้วิธีการใดในการควบคุม เช่น ปริมาณ เวลา คุณภาพ หรือ งบประมาณ และการประเมินผลการดำเนินงานเป็นไปอย่างเหมาะสม
ระดับของผู้บริหาร
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ระดับของผู้บริหารโดยทั่วไปแบ่งออกเป็น 3 ระดับคือ
1. ผู้บริหารระดับสูง
(Top Manager) มีอำนาจในการบังคับบัญชาโดยทั่วทั้งองค์กร โดยการสั่งการลงไปยังผู้บริหารระดับกลางและร่างลักษณะงาน ส่วนใหญ่จะเน้นงานที่ต้องใช้ความคิดในการวิเคราะห์และการตัดสินใจ เป็นเรื่องที่ไม่มีความแน่นอนและเกี่ยวข้องกับปัจจัยภายนอกต่างๆ
2.ผู้บริหารระดับกลาง (Middle Manager) ทำหน้าที่ในการควบคุมการบริหาร(Management
Control) ได้แก่ การวางแผนในการปฏิบัติงาน การติดตามการทำงานตามแผนที่วางไว้ การตรวจสอบและติดตามงานว่าเป็นไปตามแผนที่วางไว้
การจัดสรรทรัพยากร และการประเมินผลของการทำงาน เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ขององค์กร
3.ผู้บริหารระดับล่าง (Low-level Manager)
ทำหน้าที่ในการควบคุมการปฏิบัติงาน
(Operational Control) ให้ได้ผลและมีประสิทธิภาพ และเป็นผู้รายงานผลการปฏิบัติงานไปยังผู้บริหารระดับกลางและระดับสูง
♦ความสำคัญและลักษณะของสารสนเทศที่ต้องการของผู้บริหารระดับต่างๆขององค์กร
ความสำคัญและลักษณะ
|
ผู้บริหารระดับต้น
|
ผู้บริหารระดับกลาง
|
ผู้บริหารระดับสูง
|
จุดมุ่งหมาย
|
ระดับปฏิบัติงาน
|
ระดับหน่วยงาน
|
ระดับองค์กร
|
แหล่งที่มาของสารสนเทศ
|
ส่วนใหญ่มาจากภายในองค์กร
|
มาจากทั้งภายในและภายนอก
|
ส่วนใหญ่มาจากภายนอกองค์กร
|
ขอบเขตของสารสนเทศ
|
แคบลึก
|
ปานกลาง
|
กว้างมาก
|
ระยะเวลา
|
ระยะสั้น
|
ระยะกลาง
|
ระยะยาว
|
ลักษณะของสารสนเทศ
|
มีรายละเอียดมาก
|
มีรายละเอียดปานกลาง
|
สรุป
|
ความถี่ของสารสนเทศที่ต้องการ
|
บ่อยครั้ง เป็นประจำ
|
เป็นบางช่วง
|
นานๆครั้ง
|
ลักษณะของการตัดสินใจ
|
มีแบบแผนที่ชัดเจนและแน่นอน
|
มีแบบแผนบ้าง
|
ไม่มีแบบแผนที่ชัดเจนแน่นอน
|
ความต้องการสารสนเทศต่อแต่ละบทบาทของผู้บริหาร
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
เมื่อกล่าวถึงหน้าที่ที่เกี่ยวกับการจัดการในองค์กรมักมุ่งไปที่หน้าที่ต่างๆในขบวนการจัดการ
ซึ่งผู้บริหารแต่ละคนให้ความสําคัญและเวลาในการทําหน้าที่การจัดการเหล่านี้แตกต่างกัน
นอกจากนี้ยังขึ้นกับลักษณะการดําเนินงานขององค์กรที่แตกต่างกันด้วย (เช่น
มีลักษณะการดําเนินงานเป็นองค์กรที่แสวงหากําไรหรือองค์กรที่ไม่แสวงหากําไร)
ระดับของผู้บริหารที่ต่างกัน (ระดับต้น ระดับกลาง ระดับสูง) และขนาดขององค์กรที่ต่างกัน
ตัวอย่างเช่น
ผู้บริหารที่อยู่ในระดับบริหารที่แตกต่างกันจะให้เวลาในการทํากิจกรรมของแต่ละหน้าที่แตกต่างกัน
และเมื่อพิจารณาถึงกิจกรรมของผู้บริหารในองค์การแล้ว
การจัดการสามารถจัดแบ่งได้เป็น 3 กลุ่ม หรือที่เรียกว่า บทบาทด้านการจัดการของ Mintzberg
(Mintzberg’s managerial roles) ได้แก่ บทบาทด้านระหว่างบุคคล (interpersonal
roles) บทบาทด้านข่าวสาร (informational roles) และบทบาทด้านการตัดสินใจ
(decisional roles)
♦บทบาทของผู้บริหารตามแนวความคิดของ Mintzberg จากการวิเคราะห์พฤติกรรมของผู้บริหารในแต่ละวัน ได้เป็นบทบาทของผู้บริหารออกเป็น 3 กลุ่มหรือ 10 บทบาท ดังนี้คือ
♦บทบาทของผู้บริหารตามแนวความคิดของ Mintzberg จากการวิเคราะห์พฤติกรรมของผู้บริหารในแต่ละวัน ได้เป็นบทบาทของผู้บริหารออกเป็น 3 กลุ่มหรือ 10 บทบาท ดังนี้คือ
1.บทบาทระหว่างบุคคล
บทบาทระหว่างบุคคล
(interpersonal) หมายถึง ผู้บริหารเป็นผู้ที่มีบทบาทต่อบุคคลในองค์กรและภายนอกองค์กร โดยจะเป็นตัวแทนขององค์กรในการติดต่อกับสังคมภายนอกองค์กร และเป็นตัวแทนขององค์กรในการติดต่อสื่อสารกับหน่วยงานและบุคลากรในองค์กรเกี่ยวกับงานภายในองค์กร บทบาทระหว่างบุคคลมีบทบาทที่ผู้บริหารมีหน้าที่ต้องรับผิดชอบ 3
ประเภทคือ
1.1 หัวหน้า
(Figurehead) คือ บทบาทในการจูงใจหรือบังคับบัญชาให้บุคลากรปฏิบัติตามหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบ
1.2 ผู้นำ
(Leader) คือ บทบาทในการกระตุ้นจูงใจ ให้ผู้ที่อยู่ใต้บังคับบัญชาปฏิบัติตามหน้าที่ในการดำเนินงานหรือด้านอื่นๆ
1.3 ผู้ติดต่อ
(Liaison) คือ บทบาทในการติดต่อกับองค์กรหรือหน่วยงานภายนอกเพื่อให้ได้ข้อมูลและบริการด้านการค้า
2.บทบาทด้านข่าวสาร
บทบาทด้านข่าวสาร(information
roles) หมายถึง บทบาทที่ผู้บริหารทำหน้าที่เสมือนเป็นศูนย์รวมของข้อมูลข่าวสาร
ทั้งการรับและการส่งข้อมูลข่าวสารที่ทันสมัยและเชื่อถือได้ไปยังบุคคลที่เกี่ยวข้อง
จึงมีบทบาทที่ผู้บริหารมีหน้าที่รับผิดชอบ 3 ประเภทคือ
2.1 ผู้ตรวจสอบ (Monitor) คือ บทบาทในการติดตามและรับข้อมูลมาใช้ เพื่อให้เกิดความเข้าใจองค์กรและสภาพแวดล้อมภายนอกทั้ง
2.2 ผู้เผยแพร่
(Disseminator) คือ บทบาทในการส่งข้อมูลที่ได้รับจากภายนอก หรือจากหน่วยงานย่อยให้กับบุคลากรขององค์กร
2.3 โฆษก (Spokesman) คือ บทบาทในการส่งข้อมูลไปยังภายนอก ตามแผนหรือนโยบายขององค์กรเสมือนเป็นโฆษกขององค์กร
3.บทบาทด้านการตัดสินใจ
บทบาทด้านการตัดสินใจ
(decisional roles) หมายถึง บทบาทที่ผู้บริหารทำหน้าที่เป็นผู้ตัดสินใจในระดับองค์กร มีบทบาทที่ผู้บริหารมีหน้าที่ต้องรับผิดชอบเกี่ยวกับการตัดสินใจ
4 ประเภทคือ
3.1 ผู้จัดการ (Entrepreneur) คือ บทบาทในการจัดการกับสภาพแวดล้อมที่เป็นโอกาส และริเริ่มหรือแนะนำในด้านหน้าที่การจัดการภายในองค์กร
3.2 ผู้จัดการสิ่งรบกวน (Disturbance handler)
คือ บทบาทในการปรับการทำงานให้ไปในทางที่ถูกเมื่อองค์กรพาเชิญกับสิ่งรบกวนที่ไม่คาดคิดมาก่อน
3.3 ผู้จัดทรัพยากร (Resource Allocator) คือ บทบาทในการจัดสรรทรัพยากรให้แก่หน่วยงานต่างๆตาม แผนกลยุทธ์ที่วางไว้
3.4 ผู้เจรจา (Negotiator)
คือ บทบาทในการเป็นตัวแทนขององค์กรในการติดต่อเจรจาหรือแก้ปัญหาความขัดแย้งของกลุ่มหรือกับองค์กรอื่นๆ
การตัดสินใจคืออะไร?
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
การตัดสินใจหมายถึง กระบวนการในการเลือกทางเลือกในการปฏิบัติ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่วางไว้ เนื่องจากการดำเนินงานภายในองค์กรต้องเผชิญกับปัญหาต่างๆมากมาย ในการแก้ปัญหานั้นอาจมีวิธีที่เป็นไปได้หลายทาง จึงจำเป็นต้องทำการตัดสินใจเลือกทางเลือกในการแก้ปัญหาที่เหมาะสม เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ขององค์กรที่ได้วางไว้ให้มากที่สุดโดยต้องคำนึงถึงความเป็นไปได้ และความผันแปรของตัวแปรต่างๆที่เกี่ยวข้อง
รูปแบบการตัดสินใจของผู้บริหาร
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ผู้บริหารในระดับปฏิบัติการ ระดับกลวิธี และระดับกลยุทธ์ มีการตัดสินใจแตกต่างกันไปตามลักษณะของงานที่รับผิดชอบในแต่ละระดับของการบริหาร เป็นสาเหตุให้รูปแบบของปัญหาที่เกิดขึ้นแตกต่างกันไป เพราะปัญหาบางอย่างมีลักษณะที่ชัดเจนสามารถตัดสินใจด้วยวิธีการเดียวกันทุกครั้ง โดยส่วนใหญ่จะเป็นปัญหาของผู้บริหารในระดับปฏิบัติการ แต่ปัญหาบางอย่างมีลักษณะที่ไม่ชัดเจน ไม่สามารถตัดสินใจด้วยวิธีการเดียวทุกครั้ง ต้องอาศัยประสบการณ์หรือทักษะของผู้ตัดสินใจประกอบกันซึ่งเป็นส่วนใหญ่จะเป็นกาตัดสินใจของผู้บริหารในระดับสูง รูปแบบการตัดสินใจของผู้บริหาร แบ่งออกเป็น 3 รูปแบบ ดังนี้
1. การตัดสินใจแบบมีโครงสร้าง (Structure)
กระบวนการตัดสินใจของ Herbert A. Simon
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
การตัดสินใจคืออะไร?
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
การตัดสินใจหมายถึง กระบวนการในการเลือกทางเลือกในการปฏิบัติ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่วางไว้ เนื่องจากการดำเนินงานภายในองค์กรต้องเผชิญกับปัญหาต่างๆมากมาย ในการแก้ปัญหานั้นอาจมีวิธีที่เป็นไปได้หลายทาง จึงจำเป็นต้องทำการตัดสินใจเลือกทางเลือกในการแก้ปัญหาที่เหมาะสม เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ขององค์กรที่ได้วางไว้ให้มากที่สุดโดยต้องคำนึงถึงความเป็นไปได้ และความผันแปรของตัวแปรต่างๆที่เกี่ยวข้อง
♦ระดับของการตัดสินใจ
1.การตัดสินใจระดับกลยุทธ์ (Strategic Decision Making) เป็นการตัดสินใจที่มีผลในระยะยาวต่อทั้งองค์กร ซึ่งส่งผลต่อวัตถุประสงค์ เป้าหมาย และนโยบายขององค์กร โดยทั่วไปจะเป็นการตัดสินใจของผู้บริหารระดับสูง
2.การตัดสินใจในระดับการควบคุมการบริหาร (Management Control
Decision Making) เป็นการตัดสินใจที่มีผลต่อส่วนใดส่วนหนึ่งขององค์กร ที่เป็นส่วนย่อยอยู่ภายใต้การตัดสินใจระดับกลยุทธ์ เป็นการตัดสินใจของผู้บริหารระดับกลาง เกี่ยวกับการวัดผลการปฏิบัติงาน หรือการควบคุมประสิทธิภาพของการปฏิบัติงาน
3.การตัดสินใจระดับปฏิบัติการ (Operational Control Decision
Making) เป็นการตัดสินใจที่มีผลต่อการปฏิบัติงานและกิจกรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้นในแต่ละวันเกี่ยวข้องกับกิจกรรม งาน เป้าหมาย และทรัพยากรที่ถูกกำหนดไว้เรียบร้อยแล้วโดยทั่วไปจะเป็นการตัดสินใจของผู้บริหารระดับล่าง
4.การตัดสินใจของผู้เชี่ยวชาญ (Knowledge-level Decision
Making) เป็นการตัดสินใจของผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งเกี่ยวข้องกับการประเมินทางเลือกของสินค้าหรือบริการใหม่
การสื่อสารความรู้ใหม่ และวิธีการกระจายข้อมูลข่าวสารไปยังทุกหน่วยขององค์กร
รูปแบบการตัดสินใจของผู้บริหาร
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ผู้บริหารในระดับปฏิบัติการ ระดับกลวิธี และระดับกลยุทธ์ มีการตัดสินใจแตกต่างกันไปตามลักษณะของงานที่รับผิดชอบในแต่ละระดับของการบริหาร เป็นสาเหตุให้รูปแบบของปัญหาที่เกิดขึ้นแตกต่างกันไป เพราะปัญหาบางอย่างมีลักษณะที่ชัดเจนสามารถตัดสินใจด้วยวิธีการเดียวกันทุกครั้ง โดยส่วนใหญ่จะเป็นปัญหาของผู้บริหารในระดับปฏิบัติการ แต่ปัญหาบางอย่างมีลักษณะที่ไม่ชัดเจน ไม่สามารถตัดสินใจด้วยวิธีการเดียวทุกครั้ง ต้องอาศัยประสบการณ์หรือทักษะของผู้ตัดสินใจประกอบกันซึ่งเป็นส่วนใหญ่จะเป็นกาตัดสินใจของผู้บริหารในระดับสูง รูปแบบการตัดสินใจของผู้บริหาร แบ่งออกเป็น 3 รูปแบบ ดังนี้
1. การตัดสินใจแบบมีโครงสร้าง (Structure)
•เป็นการตัดสินใจที่ใช้หลักวินิจฉัยแบบมีหลักเกณฑ์หรือหลักการที่แน่นอนชัดเจน
หรือเป็นกระบวนการตัดสินใจที่มีการกำหนดทางแก้ไขไว้ล่วงหน้า
เนื่องจากเป็นการตัดสินใจเกี่ยวดับปัญหาที่ทราบดีและมักเกิดขึ้นซ้ำๆ เป็นประจำ
โดยวิธีการในการแก้ไขปัญหาที่ดีที่สุดจะถูกกำหนดไว้อย่างชัดเจนตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้
และมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดค่าใช้จ่ายต่ำที่สุดหรือเพื่อให้เกิดกำไรสูงสุด เช่น
- การหาระดับสินค้าคงคลังที่เหมาะสม
- การจัดซื้อสินค้าในปริมาณที่ทำให้เกิดการประหยัด
- การเลือกการลงทุนที่เหมาะสมที่สุด
•การตัดสินใจแบบนี้มักใช้แบบจำลองคณิตศาสตร์ (maithematical
model) หรือศาสตร์ทางด้านการจัดการ (management science)
หรือการวิจัยดำเนินงาน (operation research) เข้ามาใช้แก้ปัญหา
•ตัวอย่างของการตัดสินใจแบบโครงสร้างที่ใช้กับงานด้านธุรกิจ ได้แก่
-
การตัดสินใจเกี่ยวกับการจัดสินค้าคงคลังจะต้องสั่งของเข้าคลังละเท่าไหร่
-
การวิเคราะห์งบประมาณที่ต้องใช้ในการจัดการต่างๆ
- การตัดสินใจเรื่องการลงทุนว่าจะลงทุนอะไร
สถานที่ตั้งโกดังเก็บสินค้าควรตั้งที่ไหน เป็นต้น
2 การตัดสินใจแบบกึ่งโครงสร้าง (semistructure)
•เป็นการตัดสินใจผสมระหว่างแบบโครงสร้างและแบบไม่มีโครงสร้าง
คือบางส่วนสามารถตัดสินใจแบบมีโครงสร้างได้แต่บางส่วนไม่สามารถทำได้
•ปัญหาแบบกึ่งโครงสร้างนี้ จะใช้วิธีแก้ปัญหาแบบมาตรฐานและการพิจารณาโดยมนุษย์รวมเข้าไว้ด้วยกัน จึงมีขั้นตอนในการแก้ปัญหาไม่ชัดเจนและมีขั้นตอนที่ซับซ้อนมากกว่าแบบมีโครงสร้าง ปัญหาบางส่วนเขียนเป็นปัญหาทางคณิตศาสตร์ได้
แต่ปัญหาบางส่วนไม่สาสารถเขียนออกมาในรูปของแบบจำลองได้
•สารสนเทศที่ใช้จะเป็นสารสนเทศที่มีโครงสร้างและเป็นรูปแบบรายงานที่ชัดเจนและข้อมูลแนวโน้มต่างๆ ที่มาจากแหล่งข้อมูลภายนอกองค์กร ตัวอย่างเช่น การทำสัญญาทางการค้า
การกำหนดงบประมาณทางการตลาดสำหรับผลิตภัณฑ์ การตัดสินใจให้เครดิตกับลูกค้า
เป็นต้น
3 การตัดสินใจแบบไม่มีโครงสร้าง (Unstructure)
•เป็นการตัดสินใจที่ไม่มีหลักการหรือวิธีการที่แน่นอนที่สามารถนำมาใช้ตัดสินใจได้
อีกตั้งมีทางเลือกให้เลือกมากมายหลายทางเพื่อใช้แก้ปัญหาและตัวแปรที่เข้ามาเกี่ยวข้องในการตัดสินใจนั้นมีจำนวนมากและซับซ้อน มีโอกาสผิดพลาด หรือมีความเสี่ยงมากกว่าการตัดสินใจแบมีโครงสร้างและแบบกึ่งโครงสร้าง
•เป็นการตัดสินใจเกี่ยวกับปัญหาที่มีรูปแบบไม่ชัดเจนหรือมีความซับซ้อน จึงต้องใช้สัญชาติญาณ ประสบการณ์ ความรู้และความชำนาญของผู้บริหารในการตัดสินใจ
•สารสนเทศที่ใช้ส่านใหญ่เป็นสารสรเทศที่มาจากภายนอกองค์กร เช่น ข้อมูลข่าวสารทางการเมือง
เศรษฐกิจทั้งภายในและภายนอกประเทศ และแนวโน้มของเทคโนโลยี เป็นต้น
•ตัวอย่างของการตัดสินใจแบบไม่มีโครงสร้าง เช่น การวางแผนการพัฒนาสินค้าหรือการบริการใหม่ การว่าจ้างผู้บริหารใหม่เพิ่ม ปัญหาพนักงานประท้วง การเลือกชองโครงงานวิจัยและพัฒนาเพื่อนำไปใช้ในปีหน้า เป็นต้น
•ตัวอย่างของการตัดสินใจแบบไม่มีโครงสร้าง เช่น การวางแผนการพัฒนาสินค้าหรือการบริการใหม่ การว่าจ้างผู้บริหารใหม่เพิ่ม ปัญหาพนักงานประท้วง การเลือกชองโครงงานวิจัยและพัฒนาเพื่อนำไปใช้ในปีหน้า เป็นต้น
กระบวนการตัดสินใจของ Herbert A. Simon
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
กระบวนการตัดสินใจของ Herbert A. Simon ได้แบ่งกระบวนการตัดสินใจออกเป็น
4 ขั้นตอนที่สำคัญ
-การกำหนดปัญหา
-การกำหนดปัญหา
-การออกแบบ
-การตัดสินใจเลือกทางเลือก
1.การกำหนดปัญหา (Intelligence Phase) เป็นการรวบรวมข้อเท็จจริง ความเชื่อ ความคิดและเหตุผลต่างๆเพื่อใช้ในการตัดสินใจ ผู้บริหารจะต้องมองเห็นว่าเกิดปัญหาอะไรในองค์กร
ที่อาจจะเป็นอุปสรรคต่อการดำเนินงานขององค์กรหรือการดำเนินธุรกิจ ซึ่งหากรวบรวมข้อมูลได้ครบถ้วนมากเท่าใดก็สามารถนำไปกำหนดทางเลือกในการแก้ปัญหาที่ชัดเจนและแน่นอนได้มากขึ้นเท่านั้น
2.การออกแบบ (Design Phase) เป็นการสร้าง พัฒนา และวิเคราะห์ทางเลือกในการปฏิบัติที่เป็นไปได้ รวมทั้งการทดสอบและประเมินทางแก้ปัญหาเกิดขึ้น โดยการสร้างตัวแบบเพื่อการเปลี่ยนแปลงปัญหาให้อยู่ในรูปตัวแบบเชิงปริมาณ หรือตัวแบบทางคณิตศาสตร์ เพื่ออธิบายถึงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรทั้งหมด การตั้งสมมติฐานการกำหนดเงื่อนไขแบบต่างๆ และการทำทดสอบทางเลือกต่างๆที่มีความเป็นไปได้ในการนำมาใช้แก้ปัญหา
3.การตัดสินใจเลือกทางเลือก (Choice Phase) เป็นการตัดสินใจเลือกทางเลือกใดทางเลือกหนึ่งจากทางเลือกทั้งหมด ที่ได้มีการพิจารณาข้อดี ข้อจำกัด ตามหลักเกณฑ์การเลือกที่ได้กำหนดไว้ การตัดสินใจของผู้บริหารอาจเลือกทางเลือกที่ดีที่สุด หรือทางเลือกที่เหมาะสมกับสถานการณ์ในขณะนั้น เพื่อที่จะนำไปปฏิบัติซึ่งขึ้นอยู่กับไหวพริบ ประสบการณ์ความเด็ดขาด ความกล้าได้กล้าเสีย หรือวิสัยทัศน์ของผู้บริหารแต่ละคนด้วย
4.การนำไปปฏิบัติ (Implementation Phase) เป็นขั้นตอนในการนำทางเลือกที่เลือกไว้มาปฏิบัติจริงเพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นผู้บริหารจะต้องกำหนดว่าจะเริ่มดำเนินเมื่อใดและดำเนินการอย่างไร เมื่อนำไปปฏิบัติแล้วต้องมีการประเมินผลของทางเลือกที่นำมาใช้ในการแก้ปัญหา และผลการปฏิบัติเป็นไปตามเป้าหมายหรือไม่
ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการแต่ละชนิดที่สนับสนุนผู้บริหารแต่ละระดับ
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
♦ระดับของผู้ใช้ระบบสารสนเทศ
1. ผู้ปฏิบัติงาน (Worker) เป็นบุคลากรที่ดำเนินงานด้านการสนับสนุนและอำนวยความสะดวกให้กับบุคลากรฝ่ายต่างๆ
เป็นผู้ทำกิจกรรมประจำวันตลอดจนจัดทำฐานข้อมูลและรายงานขององค์การ
2. ผู้บริหารระดับปฏิบัติการ (Operational
Manager) หรือเรียกทั่วไปว่า หัวหน้างาน (Supervisors) ผู้บริหารระดับนี้จะทำหน้าที่ควบคุมและดูแลการดำเนินงานประจำวันของบุคลากรระดับปฏิบัติงานให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
3. ผู้บริหารระดับกลาง (Middle Manager) เป็นผู้ที่กำกับการบริหารงานของผู้บริหารระดับปฏิบัติการ
รวมทั้งวางแผนยุทธวิธีเพื่อให้การดำเนินงานขององค์การบรรลุเป้าหมาย
นอกจากนี้ยังต้องทำหน้าที่ประสานงานกับผู้บริหารระดับสูงเพื่อรับนโยบาย แล้วนำมาวางแผนการปฏิบัติงาน
4. ผู้บริหารระดับสูง (Senior Manager) หรือเรียกทั่วไปว่า Executive
Managers เป็นผู้บริหารระดับสูงสุดขององค์การ เป็นผู้ที่รับผิดชอบด้านการวางแผนกลยุทธ์ (Strategic Planing) ในการกำหนดเป้าหมาย
และวัตถุประสงค์ขององค์การ
ตลอดจนดูแลองค์การในภาพรวม
♦ระบบสารสนเทศที่ถูกนำไปใช้ในผู้บริหารแต่ละระดับ
1.ระบบสารสนเทศประมวลผลธุรกรรม (Transaction Processing
Systems: TPS) เป็นระบบสารสนเทศประเภทแรกที่นิยมนำมาใช้อย่างแพร่หลาย
เพื่อการประมวลผลที่รวดเร็ว ลดค่าใช้จ่าย และปรับปรุงการให้บริการลูกค้า
ระบบสารสนเทศแบบประมวลผลธุรกรรมทำหน้าที่รวบรวม บันทึกข้อมูลในแฟ้มข้อมูล(File)
หรือฐานข้อมูล(Database)
และประมวลผลข้อมูลที่เกิดจากการทำธุรกรรมและการปฏิบัติงานประจำ
(Routine) ขององค์การเพื่อนำไปจัดทำระบบสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลนั้นๆ โดยปกติพนักงานระดับปฏิบัติงานจะเป็นผู้จัดทำระบบสารสนเทศประเภทนี้ แต่ด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยี
ในปัจจุบันจึงได้มีการพัฒนาระบบการประมวลผลธุรกรรมที่ลูกค้าสามารถป้อนข้อมูลและประมวลผลรายการด้วยตนเองได้ เรียกระบบสารสนเทศลักษณะนี้ว่า
Customer Integrated Systems หรือ CIS เช่น
ระบบฝาก-ถอนเงินอัตโนมัติ
2. ระบบสารสนเทศสำนักงาน (Office Information Systems: OIS) หรือระบบสำนักงานอัตโนมัติ
(Office Automation Systems: OAS) เป็นระบบสารสนเทศที่นำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของผู้ปฏิบัติงานและผู้บริหาร
แบ่งได้เป็น
5 ประเภท คือ ระบบจัดการเอกสาร
ระบบการจัดการข่าวสาร
ระบบการทำงานร่วมกัน
/ประชุมทางไกล ระบบการประมวลภาพ และระบบการจัดการสำนักงาน
3. ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (Management
Information System: MIS)เป็นระบบสารสนเทศที่โดยปกติแล้วจะประมวลผลและสรุปผลจากแฟ้มข้อมูลหรือฐานข้อมูลที่ได้จาก
TPS เพื่อจัดทำสารสนเทศตามความต้องการของผู้บริหารสำหรับนำไปใช้ในการวางแผน
ควบคุม กำกับดูแล สั่งการ
และประกอบการตัดสินใจ
โดยสามารถจำแนกได้เป็น 4 ประเภทดังนี้
3.1 รายงานที่จัดทำตามระยะเวลาที่กำหนด
(Periodic Reports) เป็นรายงานที่จัดทำขึ้นตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ล่วงหน้า
ซึ่งอาจเป็นรายงานที่จัดทำขึ้นทุกวัน ทุกสัปดาห์ ทุกเดือน หรือทุกๆ ปี
3.2 รายงานสรุป (Summarized
Reports) เป็นรายงานที่จัดทำเพื่อสรุปการดำเนินงานโดยภาพรวม โดยปกติจะแสดงผลในรูปของตารางสรุปจำนวนและกราฟเปรียบเทียบ
3.3 รายงานที่จัดทำตามเงื่อนไขเฉพาะ (Exception
Reports) เป็น
รายงานที่จัดทำตามเงื่อนไขพิเศษไม่อยู่ในเกณฑ์การจัดทำรายงานตามปกติ
มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้บริหารได้ใช้สารสนเทศสำหรับการตัดสินใจอย่างทันเวลา
3.4 รายงานที่จัดทำตามความต้องการ (Demand
Reports) เป็นรายงานที่มีลักษณะตรงข้ามกับรายงานที่จัดทำตามระยะเวลาที่กำหนด
ซึ่งรายงานจะกระทำตามเวลาอย่างสม่ำเสมอ ในขณะที่ Demand Reports จะจัดทำเมื่อผู้บริหารมีความต้องการในรายงานนั้นๆ
เท่านั้น
4.ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support Systems:
DSS) เป็นระบบสารสนเทศที่นำข้อมูลจากฐานข้อมูลต่างๆ มาใช้ในการตัดสินใจ
และจะช่วยสนับสนุนการแก้ปัญหาและตัดสินใจเฉพาะกรณีตามที่ผู้บริหารต้องการ
เป็นการเน้นการตัดสินใจอย่างมีประสิทธิภาพ ลักษณะสำคัญของ
DSS คือ จะต้องเป็นระบบที่ให้สารสนเทศอย่างรวดเร็วต่อการตัดสินใจ
เพื่อใช้ในการแก้ปัญหาและกำหนดกลยุทธ์ ดังนั้น DSS จึงควรออกแบบในลักษณะที่โต้ตอบกับผู้ใช้เพื่อสืบค้นข้อมูลจากฐานข้อมูล
ซึ่งผู้บริหารมีบทบาทสำคัญยิ่งต่อการกำหนดรูปแบบการพัฒนา DSS
5.ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหารระดับสูง (Executive Information
Systems: EIS หรือ Executive Support Systems: ESS) เป็นระบบสารสนเทศที่ช่วยสนับสนุนการวิเคราะห์ปัญหา
ศึกษาแนวโน้ม และการวางแผนกลยุทธ์ ผู้บริหารสามารถเข้าถึงสารสนเทศโดยกำหนดมุมมองได้ในรูปแบบต่างๆ
จึงเป็นระบบที่มีความยืดหยุ่นและคล่องตัวสูง
และรวดเร็วต่อความต้องการ
ใช้งานได้ง่าย EIS
สามารถเข้าถึงสามาสนเทศจากฐานข้อมูลภายในและภายนอกองค์การและจะนำเสนอสารสนเทศที่ได้จากการวิเคราะห์ในรูปของรายงาน
ตาราง
และกราฟ
เพื่อการสรุปสารสนเทศให้ผู้บริหารได้เข้าใจง่ายและประหยัดเวลา
6.ระบบงานสร้างความรู้ (KWS) เป็นระบบที่ช่วยสนับสนุนบุคลากรที่ทำงานด้านการสร้างความรู้เพื่อพัฒนาการคิดค้น
สร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ บริการใหม่ ความรู้ ใหม่ เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในหน่วยงาน
หน่วยงานต้องนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาสนับสนุนให้การพัฒนาเกิดขึ้นได้โดยสะดวก
สามารถแข่งขันได้ทั้งในด้านเวลา คุณภาพ และราคา ระบบต้องอาศัยแบบจำลองที่สร้างขึ้น
ตลอดจนการทดลองการผลิตหรือดำเนินการ ก่อนที่จะนำเข้ามาดำเนินการจริงในธุรกิจ
ผลลัพธ์ ของระบบนี้ มักอยู่ในรูปขอสิ่งประดิษฐ์ ตัวแบบ รูปแบบ เป็นต้น
ฐานข้อมูลความรู้เพื่อการจัดการ ( Knowledge
Work System : KWS )ใช้สนับสนุนการทำงานของพนักงานกลุ่มที่มีความรู้สูง (Knowledge
Workers) เช่น วิศวกร แพทย์ นักกฎหมาย นักวิทยาศาสตร์
เป็นพนักงานกลุ่มที่มีความรู้สูงได้รับการยอมรับอย่างเป็นทางการ ระบบนี้
ใช้รับผิดชอบการสร้างข่าวสารให้เป็นประโยชน์ หรือองค์ความรู้ใหม่ ๆ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น