ความหมายของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ หรือ เอ็มไอเอส (อังกฤษ: management information system - MIS) หมายถึง ระบบคอมพิวเตอร์ หรือขั้นตอนที่ช่วยในการจัดเก็บสารสนเทศเพื่อใช้ในการบริหารและการจัดการองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการนี้จะมีส่วนครอบคลุมถึง บุคคล เอกสาร เทคโนโลยี และขั้นตอนในการทำงาน เพื่อที่จะแก้ปัญหาทางธุรกิจไม่ว่าทาง ราคา สินค้า บริการ หรือกลยุทธต่างๆ ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการจะแตกต่างจากระบบสารสนเทศทั่วไป กล่าวคือระบบนี้จะใช้ในการวิเคราะห์ระบบอื่นๆ เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ ในทางวิชาการคำว่าระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการนี้ถูกใช้ในส่วนของรูปแบบการจัดการข้อมูล เช่น ระบบผู้เชี่ยวชาญ หรือ ระบบช่วยในการตัดสินใจ
Management Information System Association |
คุณลักษณะที่ดีของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
กระบวนการทางธุรกิจ
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
1. ความสามารถในการจัดการข้อมูล (Data Manipulation)
ระบบสารสนเทศที่ดีต้องสามารถปรับปรุงแก้ไขและจัดการข้อมูล เพื่อให้เป็นสารสนเทศที่พร้อมสำหรับนำไปใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพ ปรกติข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจจะมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ข้อมูลที่ถูกป้อนเข้าสู่ MIS ควรที่จะได้รับการปรับปรุงแก้ไขและพัฒนารูปแบบ เพื่อให้ความทันสมัยและเหมาะสมกับการใช้งานอยู่เสมอ
ระบบสารสนเทศที่ดีต้องสามารถปรับปรุงแก้ไขและจัดการข้อมูล เพื่อให้เป็นสารสนเทศที่พร้อมสำหรับนำไปใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพ ปรกติข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจจะมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ข้อมูลที่ถูกป้อนเข้าสู่ MIS ควรที่จะได้รับการปรับปรุงแก้ไขและพัฒนารูปแบบ เพื่อให้ความทันสมัยและเหมาะสมกับการใช้งานอยู่เสมอ
2. ความปลอดภัยของข้อมูล (Data Security)
ระบบสารสนเทศเป็นทรัพยากรที่สำคัญอีกอย่างขององค์การ ถ้าสารสนเทศบาง
ประเภทรั่วไหลออกไปสู่ บุคคลภายนอก โดยเฉพาะคู่แข่งขัน อาจทำให้เกิดความเสียโอกาสทางการแข่งขัน หรือสร้างความเสียหายแก่ธุรกิจ ความสูญเสียที่เกิดขึ้นอาจจะเกิดจากความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ หรือการก่อการร้ายต่อระบบ จะมีผลโดยตรงต่อประสิทธิภาพและความเป็นอยู่ขององค์กร
ระบบสารสนเทศเป็นทรัพยากรที่สำคัญอีกอย่างขององค์การ ถ้าสารสนเทศบาง
ประเภทรั่วไหลออกไปสู่ บุคคลภายนอก โดยเฉพาะคู่แข่งขัน อาจทำให้เกิดความเสียโอกาสทางการแข่งขัน หรือสร้างความเสียหายแก่ธุรกิจ ความสูญเสียที่เกิดขึ้นอาจจะเกิดจากความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ หรือการก่อการร้ายต่อระบบ จะมีผลโดยตรงต่อประสิทธิภาพและความเป็นอยู่ขององค์กร
3. ความยืดหยุ่น (Flexibility)
สภาพแวดล้อมในการดำเนินธุรกิจหรือสถานการณ์การแข่งขันทางการค้าที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้ระบบสารสน เทศที่ดีต้องมีความสามารถในการปรับตัว เพื่อให้สอดคล้องกับการใช้งานหรือปัญหาที่เกิดขึ้น โดยที่ระบบสารสนเทศที่ถูกสร้างหรือถูกพัฒนาขึ้นต้องสามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริหารได้อยู่เสมอ โดยมีอายุการใช้งาน การบำรุงรักษา และค่าใช้จ่ายที่เหมาะสม
สภาพแวดล้อมในการดำเนินธุรกิจหรือสถานการณ์การแข่งขันทางการค้าที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้ระบบสารสน เทศที่ดีต้องมีความสามารถในการปรับตัว เพื่อให้สอดคล้องกับการใช้งานหรือปัญหาที่เกิดขึ้น โดยที่ระบบสารสนเทศที่ถูกสร้างหรือถูกพัฒนาขึ้นต้องสามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริหารได้อยู่เสมอ โดยมีอายุการใช้งาน การบำรุงรักษา และค่าใช้จ่ายที่เหมาะสม
4. ความพอใจของผู้ใช้ (User Satisfaction)
ปกติระบบสารสนเทศถูกพัฒนาขึ้น โดยมีความมุ่งหวังให้ผู้ใช้สามารถนำมาประยุกต์ในงานหรือเพิ่มประสิทธิภาพในการทำ งาน ระบบสารสนเทศที่ดีจะต้องกระตุ้นหรือโน้มน้าวให้ผู้ใช้หันมาใช้ระบบให้มากขึ้น โดยการพัฒนาระบบต้องทำการพัฒนาให้ตรงกับความต้องการ และพยายามทำให้ผู้ใช้พอใจกับระบบ เมื่อผู้ใช้เกิดความไม่พอใจกับระบบ ทำให้ความสำคัญของระบบลดน้อยลงไป ก็อาจจะทำให้ไม่คุ้มค่ากับการลงทุนได้
ปกติระบบสารสนเทศถูกพัฒนาขึ้น โดยมีความมุ่งหวังให้ผู้ใช้สามารถนำมาประยุกต์ในงานหรือเพิ่มประสิทธิภาพในการทำ งาน ระบบสารสนเทศที่ดีจะต้องกระตุ้นหรือโน้มน้าวให้ผู้ใช้หันมาใช้ระบบให้มากขึ้น โดยการพัฒนาระบบต้องทำการพัฒนาให้ตรงกับความต้องการ และพยายามทำให้ผู้ใช้พอใจกับระบบ เมื่อผู้ใช้เกิดความไม่พอใจกับระบบ ทำให้ความสำคัญของระบบลดน้อยลงไป ก็อาจจะทำให้ไม่คุ้มค่ากับการลงทุนได้
•เทคโนโลยีสารสนเทศมีบทบาทสำคัญต่อการดำเนินงานทั้งระดับองค์การและอุตสาหกรรม
และเป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยเพิ่ม ขีดความสามารถของธุรกิจ
และขีดความสามารถในการบริหารงานของผู้บริหารในยุคปัจจุบัน
ธุรกิจต้องการระบบสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพ
เพื่อการดำรงอยู่และเจริญเติบโตขององค์การ
โดยที่เทคโนโลยีสารสนเทศจะส่วนช่วยให้ธุรกิจประสบผลสำเร็จ
และสามารถแข่งขันกับธุรกิจอื่นในระดับสากล
ประโยชน์ที่ผู้บริหารจะได้รับ
1. ช่วยให้สามารถเข้าถึงสารสนเทศที่ต้องการได้อย่างรวดเร็วและทันต่อเหตุการณ์ เนื่องจากข้อมูลถูกจัดเก็บและบริหารเป็นระบบ
ทำให้ผู้บริหารสามารถจะเข้าถึงข้อมูลได้อย่างรวดเร็วในรูปแบบที่เหมาะสม
และสามารถนำข้อมูลมาใช้ประโยชน์ได้ทันต่อความต้องการ
2.ช่วยในการกำหนดเป้าหมายกลยุทธ์และการวางแผนปฏิบัติการ โดยผู้บริหารจะสามารถนำข้อมูลที่ได้จากระบบสารสนเทศมาช่วยในการวางแผนและกำหนดเป้าหมายในการดำเนินงาน
เนื่องจากสารสนเทศถูกเก็บรวบรวมและจัดการ อย่างเหมาะสม
ทำให้มีประวัติของข้อมูลอย่างต่อเนื่อง
สามารถที่จำชี้แนวโน้มของการดำเนินงานได้ว่าน่าจะเป็นไปในลักษณะใด
3.ช่วยในการตรวจสอบประเมินผลการดำเนินงาน
เมื่อแผนงานถูกนำไปปฏิบัติในช่วงระยะเวลาหนึ่ง
ผู้ควบคุมจะต้องตรวจสอบผลการดำเนินงานโดยนำข้อมูลบางส่วนมาประมวลผลประกอบการประเมินสารสนเทศที่ได้จะแสดงให้เห็นผลการดำเนินงานว่าสอดคล้องกับเป้าหมายที่ต้องการเพียงไร
4.ช่วยในการศึกษาและวิเคราะห์สาเหตุของปัญหา ผู้บริหารสามารถใช้ระบบสารสนเทศประกอบการศึกษาและการค้นหาสาเหตุ
หรือข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นในการดำเนินงาน
ถ้าการดำเนินงานไม่เป็นไปตามแผนที่วางเอาไว้
อาจจะเรียกข้อมูลเพิ่มเติมออกมาจากระบบ เพื่อให้ทราบว่าข้อผิดพลาดในการทำงานเกิดขึ้นมาจากสาเหตุใด
หรือจัดรูปแบบสารสนเทศในการวิเคราะห์ปัญหาใหม่
5. ช่วยให้สามารถวิเคราะห์ปัญหาหรืออุปสรรคที่เกิดขึ้น เพื่อหาวิธีควบคุม
ปรับปรุงและแก้ไขปัญหา สารสนเทศที่ได้จากการประมวลผลจะช่วยให้ผู้บริหาร
วิเคราะห์ว่าการดำเนินงานในแต่ละทางเลือกจะช่วยแก้ไข หรือควบคุมปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างไร
ธุรกิจต้องทำอย่างไรเพื่อปรับเปลี่ยนหรือพัฒนาให้การดำเนินงานเป็นไปตามแผนงานหรือเป้าหมาย
6. ช่วยลดค่าใช้จ่าย ระบบสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพ ช่วยให้ธุรกิจลดเวลา
แรงงานและค่าใช้จ่ายในการทำงานลง เนื่องจากระบบสารสนเทศสามารถรับภาระงานที่ต้องใช้แรงงาน
จำนวนมาก ตลอดจนช่วยลดขั้นตอนในการทำงาน
ส่งผลให้ธุรกิจสามารถลดจำนวนคนและระยะเวลาในการประสานงานให้น้อยลง
โดยผลงานที่ออกมาอาจเท่าหรือดีกว่าเดิม ซึ่งจะเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพ
และศักยภาพในการแข่งขันทางธุรกิจ
ส่วนประกอบของระบบสารสนเทศ 3 ส่วน
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
1. เครื่องมือในการสร้างระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ
หมายถึง ส่วนประกอบหรือโครงสร้างพื้นฐานที่รวมกันเข้าเป็น MISและช่วยให้ระบบสารสนเทศดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ โดยจำแนกเครื่องมือในการสร้างระบบสารสนเทศไว้ 2 ส่วน คือ
หมายถึง ส่วนประกอบหรือโครงสร้างพื้นฐานที่รวมกันเข้าเป็น MISและช่วยให้ระบบสารสนเทศดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ โดยจำแนกเครื่องมือในการสร้างระบบสารสนเทศไว้ 2 ส่วน คือ
1.1 ฐานข้อมูล (Data Base)
ฐานข้อมูล
จัดเป็นหัวใจสำคัญของระบบ MIS เพราะว่าสารสนเทศที่มีคุณภาพจะมาจากข้อมูลที่ดี
เชื่อถือได้ ทันสมัย และถูกจัดเก็บอย่างเป็นระบบ
ซึ่งผู้ใช้สามารถเข้าถึงและใช้งานได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว
ดังนั้นฐานข้อมูลจึงเป็นส่วนประกอบสำคัญที่ช่วยให้ระบบสารสนเทสมีความสมบูรณ์
และปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพ
1.2 เครื่องมือ (Tools)
1.2 เครื่องมือ (Tools)
เป็นเครื่องมือที่ใช้จัดเก็บและประมวลผลข้อมูล
ปกติระบบสารสนเทศจะใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เป็น อุปกรณ์หลักในการจัดการข้อมูล
ซึ่งจะประกอบด้วยส่วนสำคัญต่อไปนี้
1.2.1 อุปกรณ์ (Hardware) คือ ตัวเครื่องหรือส่วนประกอบของเครื่องคอมพิวเตอร์ รวมทั้งอุปกรณ์ ระบบเครือข่าย
1.2.2 ชุดคำสั่ง (Software) คือ ชุดคำสั่งที่ทำหน้าที่รวบรวม และจัดการ เก็บข้อมูลเพื่อใช้ในการ บริหารงาน หรือการตัดสินใจ
1.2.1 อุปกรณ์ (Hardware) คือ ตัวเครื่องหรือส่วนประกอบของเครื่องคอมพิวเตอร์ รวมทั้งอุปกรณ์ ระบบเครือข่าย
1.2.2 ชุดคำสั่ง (Software) คือ ชุดคำสั่งที่ทำหน้าที่รวบรวม และจัดการ เก็บข้อมูลเพื่อใช้ในการ บริหารงาน หรือการตัดสินใจ
2. วิธีการหรือขั้นตอนการประมวลผล
การที่จะได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ จะต้องมีการจัดลำดับ วางแผนงานและวิธีการประมวลผลให้ถูกต้อง เพื่อให้ได้ข้อมูล หรือสารสนเทศที่ต้องการ
3. การแสดงผลลัพธ์
เมื่อข้อมูลได้ผ่านการประมวลผล ตามวิธีการแล้วจะได้ สารสนเทศ หรือMIS เกิดขึ้น อาจจะนำเสนอในรูป ตาราง กราฟ รูปภาพ หรือเสียง เพื่อให้การนำเสนอข้อมูลมีประสิทธิภาพ จะขึ้นอยู่กับลักษณะของข้อมูล และลักษณะของการนำไป ใช้งาน
การที่จะได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ จะต้องมีการจัดลำดับ วางแผนงานและวิธีการประมวลผลให้ถูกต้อง เพื่อให้ได้ข้อมูล หรือสารสนเทศที่ต้องการ
3. การแสดงผลลัพธ์
เมื่อข้อมูลได้ผ่านการประมวลผล ตามวิธีการแล้วจะได้ สารสนเทศ หรือMIS เกิดขึ้น อาจจะนำเสนอในรูป ตาราง กราฟ รูปภาพ หรือเสียง เพื่อให้การนำเสนอข้อมูลมีประสิทธิภาพ จะขึ้นอยู่กับลักษณะของข้อมูล และลักษณะของการนำไป ใช้งาน
มุมมองของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (Dimensions of
Information Systems)
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
1. Organizations
องค์กรมีโครงสร้างที่ประกอบด้วยหลายระดับโครงสร้าง เผยให้เห็นการแบ่งงานที่ชัดเจน
อำนาจและความรับผิดชอบในบริษัท ธุรกิจจัดเป็นลำดับชั้นหรือโครงสร้างพีระมิด
ระดับบนของลำดับชั้นประกอบด้วยพนักงานที่เป็นผู้บริหารพนักงานชำนาญการและด้านเทคนิคในขณะที่ระดับล่างประกอบด้วยบุคลากรที่ปฏิบัติงาน
2. Management
คือการทำความเข้าใจกับหลาย
ๆ สถานการณ์ที่ต้องเผชิญกับองค์กร โดยการตัดสินใจและจัดทำแผนปฏิบัติการเพื่อแก้ไขปัญหาขององค์กร
กำหนดกลยุทธ์ขององค์กรเพื่อตอบสนองต่อความท้าทาย และจัดสรรทรัพยากรบุคคลและการเงินเพื่อประสานงานให้บรรลุความสำเร็จโดยต้องใช้ความเป็นผู้นำที่มีความรับผิดชอบ
3. Technology
โครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) เป็นพื้นฐานหรือแพลตฟอร์มที่
บริษัท สามารถสร้างระบบข้อมูลเฉพาะได้
3.1 Computer hardware ใช้ในการป้อนข้อมูล
การประมวลผลและกิจกรรมเอาท์พุทในระบบข้อมูล ประกอบด้วยคอมพิวเตอร์ที่มีหลายขนาดและรูปร่าง
(รวมถึงอุปกรณ์มือถือมือถือ); อุปกรณ์อินพุต, เอาท์พุทและอุปกรณ์จัดเก็บต่างๆ
และอุปกรณ์โทรคมนาคมที่เชื่อมโยงเครื่องคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกัน
3.2 Computer software ประกอบด้วยรายละเอียดที่ควบคุมและประสานส่วนประกอบฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์ในระบบสารสนเทศ
3.3 Data management technology ประกอบด้วยซอฟต์แวร์ที่จัดการข้อมูลองค์กรเกี่ยวกับสื่อจัดเก็บข้อมูลและวิธีการเข้าถึงข้อมูล
3.4 Networking and telecommunications technology ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์สามารถถ่ายโอนข้อมูลจากแหล่งหนึ่งไปยังอีกแหล่งหนึ่งได้
อีกทั้งคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์การสื่อสารสามารถเชื่อมต่อในเครือข่ายเพื่อแชร์ข้อมูลเสียงภาพเสียงและวิดีโอ
ประเภทของระบบสารสนเทศแบ่งตามระดับการจัดการ 4ระดับ
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
1.ระบบการประมวลผลทางธุรกิจ (Transaction Processing System :
TPS)
ระบบสารสนเทศที่ใช้ในการเปลี่ยนข้อมูลดิบจากการปฏิบัติงานให้อยู่ในรูปแบบที่เครื่องจักรสามารถอ่านได้,
เก็บรายละเอียดรายการ,
ประมวลผลรายการและสั่งพิมพ์รายละเอียดรายการ
ออกมาได้ รายการ (Transaction) คือ
การกระทำพื้นฐานที่เกิดขึ้นระหว่างการดำเนินการทางธุรกิจ เช่น การขายสินค้า
การจองตั๋วเครื่องบิน การซื้อสินค้าผ่านเครดิตการ์ดและการสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าคงคลัง
จัดเป็นรายการทั้งสิ้น ระบบประมวลผลรายการนิยมใช้ในการประมวลผลบัญชี, การขาย,
หรือประมวลผลข้อมูลสินค้าคงคลัง
เนื่องจากข้อมูลเหล่านี้เป็นที่ต้องการของระบบสารสนเทศอื่นๆในองค์กร
2.ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (Management Information
System : MIS)
ระบบที่ให้สารสนเทศที่ผู้บริหารต้องการ
เพื่อให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยจะรวมทั้ง สารสนเทศภายในและภายนอก
สารสนเทศที่เกี่ยวพันกับองค์กรทั้งในอดีตและปัจจุบัน
รวมทั้งสิ่งที่คาดว่าจะเป็นในอนาคต นอกจากนี้ระบบเอ็มไอเอสจะต้อง ให้สารสนเทศ
ในช่วงเวลาที่เป็นประโยชน์ เพื่อให้ผู้บริหารสามารถตัดสินใจในการวางแผนการควบคุม
และการปฏิบัติการขององค์กรได้อย่างถูกต้อง
3.ระบบช่วยตัดสินใจ (Decision Support System : DSS)
ช่วยในการตัดสินใจเกี่ยวกับการบริหารจัดการ การรวบรวมข้อมูล
การวิเคราะห์ข้อมูล และการสร้างตัวแบบที่ซับซ้อนภายใต้ซอฟต์แวร์เดียวกัน
เพื่อแก้ปัญหาที่มีความยุ่งยากซับซ้อน DSS ยังเป็นการประสานการทำงานระหว่างบุคลากรกับเทคโนโลยีทางด้านซอฟต์แวร์
โดยเป็นการกระทำโต้ตอบกัน เพื่อแก้ปัญหาแบบไม่มีโครงสร้าง
และอยู่ภายใต้การควบคุมของผู้ใช้ตั้งแต่เริ่มต้นถึงสิ้นสุดขั้นตอน เป็นระบบที่ช่วยผู้บริหารในเรื่องการตัดสินใจโดยเฉพาะข้อมูลที่มีการเปลี่ยนแปลงไม่มีรูปแบบที่แน่นอน
มีความยืดหยุ่นในการทางาน และสามารถที่จะตอบสนองได้อย่างรวดเร็ว
4.ระบบสนับสนุนผู้บริหาร (Executive
support system : ESS)
เป็นระบบสนับสนุนการตัดสินใจประเภทหนึ่งซึ่งได้รับการพัฒนามาโดยเฉพาะสำหรับผู้บริหารระดับสูงเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจในปัญหาแบบไม่มีโครงสร้าง ผู้บริหารระดับสูงใช้ระบบ ESS เป็นเครื่องมือที่ช่วยอำนวยความสะดวกรวดเร็วในการบริหารและตัดสินใจ โดยระบบจะให้ข้อมูลที่ถูกต้อง ทันสมัย ตามความต้องเพื่อในการกำหนดวิสัยทัศน์ ภารกิจ กลยุทธ์ วัตถุประสงค์ และเป้าหมาย รวมถึงการวางแผนระยะยาวนอกจากนี้ระบบยังช่วยอำนวยความสะดวกในการติดต่อสื่อสารระหว่างผู้บริหารและบุคลากรในองค์การและระหว่างองค์การด้วย
เป็นระบบสนับสนุนการตัดสินใจประเภทหนึ่งซึ่งได้รับการพัฒนามาโดยเฉพาะสำหรับผู้บริหารระดับสูงเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจในปัญหาแบบไม่มีโครงสร้าง ผู้บริหารระดับสูงใช้ระบบ ESS เป็นเครื่องมือที่ช่วยอำนวยความสะดวกรวดเร็วในการบริหารและตัดสินใจ โดยระบบจะให้ข้อมูลที่ถูกต้อง ทันสมัย ตามความต้องเพื่อในการกำหนดวิสัยทัศน์ ภารกิจ กลยุทธ์ วัตถุประสงค์ และเป้าหมาย รวมถึงการวางแผนระยะยาวนอกจากนี้ระบบยังช่วยอำนวยความสะดวกในการติดต่อสื่อสารระหว่างผู้บริหารและบุคลากรในองค์การและระหว่างองค์การด้วย
ความสัมพันธ์ระหว่างระบบต่างๆ
◘ภาพตัวอย่างแสดงความสัมพันธ์ระหว่างระบบต่างๆของระบบสารสนเทศ◘
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
คือ
การรวบรวมกิจกรรมที่จำเป็นในการผลิตผลิตภัณฑ์หรือบริการ กิจกรรมเหล่านี้มาจากขั้นตอนการผลิตออกมาเป็นผลิตภัณฑ์ ข้อมูลสารสนเทศ
และความรู้ระหว่างผู้เข้าร่วมกระบวนการทางธุรกิจ โดยกระบวนการทางธุรกิจเป็นวิธีการเฉพาะของแต่ละองค์กร
ตัวอย่างกระบวนการทางธุรกิจ
1.กระบวนการทางธุรกิจด้านการผลิต = การประกอบผลิตภัณฑ์
การตรวจสอบคุณภาพ การออกใบเสร็จ
2.กระบวนการผลิตด้านการขาย/การตลาด = การระบุลูกค้าเป้าหมาย
การทำให้ลูกค้ารับรู้ถึงผลิตภัณฑ์ การขายผลิตภัณฑ์
3.กระบวนการผลิตด้านการเงิน/บัญชี = การจัดทำงบการเงิน การจัดการบัญชีเงินสด
4.กระบวนการผลิตด้านบุคคล = การจัดจ้างพนักงาน
การประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงาน บันทึกผลกำไรพนักงาน
ระบบสารสนเทศขององค์กรธุรกิจ (Enterprise Application) 4ประเภท
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
1.Enterprise Systems or ERP
คือ
ระบบการวางแผนทรัพยากรขององค์กร
เป็นระบบที่ใช้ในการจัดการและวางแผนการใช้ทรัพยากรต่างๆ ขององค์กร
โดยเป็นระบบที่เชื่อมโยงระบบงานต่างๆ
ขององค์กรเข้าด้วยกันตั้งแต่ระบบงานทางด้านบัญชี และการเงิน ระบบงานทรัพยากรบุคคล
ระบบบริหารการผลิต รวมถึงระบบการกระจายสินค้า เพื่อช่วยให้การวางแผนและบริหารทรัพยากรขององค์กรเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
ทั้งยังช่วยลดเวลาและขั้นตอนการทำงานได้อีกด้วย
2.Supply chain management system : SCM
การจัดการสายโซ่อุปทาน เป็นกระบวนการของการบริหารทุกขั้นตอน
นับตั้งแต่การนำเข้าวัตถุดิบสู่กระบวนการผลิต กระบวนการสั่งซื้อ จนกระทั่งส่งสินค้าถึงมือลูกค้าให้มีความต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพสูงสุด
พร้อมกับสร้างระบบให้เกิดการไหลเวียนของข้อมูลที่ทำให้เกิดกระบวนการทำงานของแต่ละหน่วยงานส่งผ่านไปทั่วทั้งองค์การ
3.Customer relationship management system : CRM
ระบบบริหารลูกค้าสัมพันธ์
เป็นกระบวนการและเทคโนโลยีเพื่อจัดการสารสนเทศเกี่ยวกับลูกค้าแต่ละบุคคล
และจัดการอย่างระมัดระวังในจุดสัมผัสลูกค้า (Customer Touch Points) เพื่อทำให้ลูกค้าจงรักภักดีจุดสัมผัสลูกค้า
คือ ทุกโอกาสที่ลูกค้าสัมผัสกับแบรนด์และผลิตภัณฑ์จากประสบการณ์ตรงของบุคคล หรือผ่านการสื่อสารมวลชน
เพื่อสังเกตความสัมพันธ์ขั้นตอนดำเนินการCRM จะประกอบด้วยกันทั้งหมด 4 ขั้นตอนคือ1) การแยกแยะผู้มุ่งหวังและลูกค้า
(โดยใช้ฐานข้อมูลลูกค้าที่ได้มาจากทุกช่องทางและจุดที่สัมผัสลูกค้า)2) สร้างความแตกต่างในลูกค้าจาก-ความต้องการของลูกค้าและ-คุณค่าของลูกค้าต่อบริษัท3) จัดปฏิสัมพันธ์กับลูกค้าแต่ละคนเพื่อปรับปรุงความรู้ของเราเกี่ยวกับความต้องการของลูกค้าแต่ละคน
และสร้างความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้น4) มีผลิตภัณฑ์บริการที่เฉพาะและสื่อสารไปยังลูกค้าแต่ละคน
(เช่น Call Center และ Website)
4.Knowledge management Systems : KMS
ระบบการบริหารจัดการความรู้
คือ ระบบบริหารจัดการความรู้ให้เป็นระเบียบ ครบถ้วน ง่ายต่อการเรียกใช้ จัดเก็บตาม ความต้องการเก็บรักษาความรู้ให้ควบคู่กับองค์กรตลอดไป
วัตถุประสงค์ของ Knowledge Management : KM
1. เพื่อปรับปรุงกระบวนการดําเนินงานทางธุรกิจที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
2. เพื่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ ๆ
3. เพื่อเป็นการปรับปรุงเทคนิค
กระบวนการโดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาองค์ความรู้และนําความรู้นั้นไปใช้ให้เกิดประโยชน์
การทำงานร่วมกัน (Collaboration)
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
คือ การทำงานร่วมกันหรือทำงานร่วมกับผู้อื่น
เพื่อบรรลุเป้าหมายร่วมกันและมีเป้าหมายที่ชัดเจน การทำงานร่วมกันมุ่งเน้นไปที่ความสำเร็จของงาน
และโดยปกติจะเกิดขึ้นในธุรกิจหรือองค์กรอื่น ๆ และระหว่างธุรกิจด้วยกัน
เครือข่ายสังคมธุรกิจ (Social Business)
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
คือ การใช้แพลตฟอร์มของเครือข่ายทางสังคมรวมถึง Facebook,
Twitter และเครื่องมือทางสังคมภายในองค์กร เพื่อดึงดูดพนักงาน ลูกค้า และซัพพลายเออร์ของตน
เครื่องมือเหล่านี้สามารถตั้งค่าโปรไฟล์ และติดตามการอัปเดตสถานะของกันและกันได้
เป้าหมายของเครือข่ายสังคมธุรกิจคือการสื่อสารกับกลุ่มต่างๆทั้งภายในและภายนอกองค์กรเพื่อเร่งรัดและเสริมสร้างการแบ่งปันข้อมูล
นวัตกรรมและการตัดสินใจ
♦ Social networks คือเว็บไซต์ที่เชื่อมโยงผู้คนไว้ด้วยกัน ผ่านInternet
ซึ่งเป็นเว็บไซต์ช่วยให้คุณหาเพื่อนบนโลกอินเตอร์เน็ตได้ง่ายๆ
เราสามารถที่จะสร้างพื้นที่ส่วนตัวขึ้นมา เพื่อแนะนำตัวเองได้
โดยเลือกได้ว่าต้องการรู้จักกับใคร หรือเป็นเพื่อนกับใคร ก็ได้ ตัวอย่าง Social
Network เช่น Hi5, Facebook, MySpace.com, twitter เป็นต้น
♦ Crowd sourcing เป็นการรวมกันของคำว่า Crowd +
Outsourcing คือการกระจายปัญหาไปยังกลุ่มค้นเพื่อค้นหาคำตอบ และวิธีการในการแก้ปัญหาทางธุรกิจนั้นๆ
บริษัทสามารถ broadcast คำถามหรือปัญหาที่ต้องการคำตอบไปยังกลุ่มคนขนาดใหญ่เพื่อให้ได้มาซึ่งวิธีการใหม่
ๆ Crowd หรือ User ส่วนมากในการทำ Crowdsourcing เราจะหมายถึงกลุ่มชุมชน Onlineหรือในโลก Cyber นั่นเอง
♦ Shared workspace คือ
การที่บรรดาธุรกิจขนาดเล็กและเจ้าของกิจการทั้งหลายมานั่งทำงานร่วมกันในสถานที่เดียวกัน
ซึ่งเป็นแนวทางการทำงานรูปแบบใหม่ที่กำลังเติบโตอยู่ในขณะนี้
♦ Blogs and wikis
(blog) เป็นคำรวมมาจากคำว่า เว็บล็อก ( weblog) เป็นรูปแบบเว็บไซต์ประเภทหนึ่ง
ซึ่งถูกเขียนขึ้นในลำดับที่เรียงตามเวลาในการเขียน
ซึ่งจะแสดงข้อมูลที่เขียนล่าสุดไว้แรกสุด บล็อกโดยปกติจะประกอบด้วย ข้อความ ภาพ ลิงก์ ซึ่งบางครั้งจะรวมสื่อต่างๆ
ไม่ว่า เพลง หรือวิดีโอ
(wiki) คือ ลักษณะของเว็บไซต์แบบหนึ่ง
ที่อนุญาต ให้ผู้ใช้ เพิ่มและแก้ไขเนื้อหาได้โดยง่าย
ซึ่งบางครั้งไม่จำเป็นต้องการลงทะเบียนเพื่อแก้ไข ด้วยความง่ายในการแก้ไขและโต้ตอบ
วิกิเว็บไซต์มักจะถูกนำมาใช้ในการร่วมเขียน
♦ Social Commerce
การแชร์ความคิดเห็นเกี่ยวกับการซื้อขายบนพื้นที่สื่อออนไลน์
♦ File share คือ Folder ที่ทำการการ Share อยู่บน Server ให้บุคคลกรในองค์กร Access เข้าไปถึงทรัพยากรที่อยู่ในภายในFolder ที่ทำการ Share อยู่บน Server และเนื่องจากองค์กรมีบุคคลกรที่มีตำแหน่งและหน้าที่ความรับผิดชอบที่แตกต่างกัน
จึงต้องมีการกำหนด premissions ในการเข้าถึง File
Share
♦ Social Marketing คือ
การออกแบบกิจกรรมการตลาดเพื่อให้ประโยชน์ตกไปถึงสังคม แต่คำว่าSocietal Marketing เป็นการนำเอาเนื้อหาสาระประเด็นทางสังคมมาใส่ในโฆษณาหรือกิจกรรมทางการตลาดของตัวเอง
ประโยชน์อาจจะไม่ได้ตกอยู่กับสังคม แต่อยู่กับองค์กร ทั้งนี้
เพื่อทำให้เกิดความใกล้ชิดกับกลุ่มเป้าหมาย เป็นการทำการตลาดทางสังคม
ไม่ใช่การตลาดเพื่อสังคม
♦ Communities คือ
การอภิปรายร่วมกันหรือแบ่งปันความเชี่ยวชาญ
ประโยชน์จากการใช้การทำงานร่วมกันของธุรกิจ
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ด้านผลผลิต =สามารถจับความรู้จากผู้เชี่ยวชาญได้
แก้ไขปัญหาได้รวดเร็ว มีความผิดพลาดน้อยลง
ด้านคุณภาพ=ทำงานร่วมกันสามารถพบความผิดพลาดและแก้ไขได้รวดเร็ว
ใช้เทคโนโลยีในการทำงานลดความล่าช้าในการออกแบบและผลิต
ด้านนวัตกรรม =เกิดความคิดทางนวัตกรรมใหม่ๆสำหรับการให้บริการ
มีความหลากหลาย
ด้านการบริการลูกค้า = สามารถแก้ปัญหาเรื่องการร้องเรียนของลูกค้าได้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากกว่าเดิม
ด้านการดำเนินงานทางการเงิน=ยอดขายดีขึ้นอันเนื่องมาจากการเติบโตและผลการดำเนินงานทางการเงินทั้งหมด