วันพฤหัสบดีที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2561

บทที่ 1 ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการสมัยใหม่

ความหมายของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ หรือ เอ็มไอเอส (อังกฤษmanagement information system - MIS) หมายถึง ระบบคอมพิวเตอร์ หรือขั้นตอนที่ช่วยในการจัดเก็บสารสนเทศเพื่อใช้ในการบริหารและการจัดการองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการนี้จะมีส่วนครอบคลุมถึง บุคคล เอกสาร เทคโนโลยี และขั้นตอนในการทำงาน เพื่อที่จะแก้ปัญหาทางธุรกิจไม่ว่าทาง ราคา สินค้า บริการ หรือกลยุทธต่างๆ ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการจะแตกต่างจากระบบสารสนเทศทั่วไป กล่าวคือระบบนี้จะใช้ในการวิเคราะห์ระบบอื่นๆ เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ ในทางวิชาการคำว่าระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการนี้ถูกใช้ในส่วนของรูปแบบการจัดการข้อมูล เช่น ระบบผู้เชี่ยวชาญ หรือ ระบบช่วยในการตัดสินใจ
Management Information System Association
คุณลักษณะที่ดีของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
1. ความสามารถในการจัดการข้อมูล (Data Manipulation)
           ระบบสารสนเทศที่ดีต้องสามารถปรับปรุงแก้ไขและจัดการข้อมูล เพื่อให้เป็นสารสนเทศที่พร้อมสำหรับนำไปใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพ ปรกติข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจจะมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ข้อมูลที่ถูกป้อนเข้าสู่ MIS ควรที่จะได้รับการปรับปรุงแก้ไขและพัฒนารูปแบบ เพื่อให้ความทันสมัยและเหมาะสมกับการใช้งานอยู่เสมอ

2. ความปลอดภัยของข้อมูล (Data Security)
           ระบบสารสนเทศเป็นทรัพยากรที่สำคัญอีกอย่างขององค์การ ถ้าสารสนเทศบาง
ประเภทรั่วไหลออกไปสู่ บุคคลภายนอก โดยเฉพาะคู่แข่งขัน อาจทำให้เกิดความเสียโอกาสทางการแข่งขัน หรือสร้างความเสียหายแก่ธุรกิจ ความสูญเสียที่เกิดขึ้นอาจจะเกิดจากความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ หรือการก่อการร้ายต่อระบบ จะมีผลโดยตรงต่อประสิทธิภาพและความเป็นอยู่ขององค์กร

3. ความยืดหยุ่น (Flexibility) 
            สภาพแวดล้อมในการดำเนินธุรกิจหรือสถานการณ์การแข่งขันทางการค้าที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้ระบบสารสน เทศที่ดีต้องมีความสามารถในการปรับตัว เพื่อให้สอดคล้องกับการใช้งานหรือปัญหาที่เกิดขึ้น โดยที่ระบบสารสนเทศที่ถูกสร้างหรือถูกพัฒนาขึ้นต้องสามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริหารได้อยู่เสมอ โดยมีอายุการใช้งาน การบำรุงรักษา และค่าใช้จ่ายที่เหมาะสม


4. ความพอใจของผู้ใช้ (User Satisfaction)
             ปกติระบบสารสนเทศถูกพัฒนาขึ้น โดยมีความมุ่งหวังให้ผู้ใช้สามารถนำมาประยุกต์ในงานหรือเพิ่มประสิทธิภาพในการทำ งาน ระบบสารสนเทศที่ดีจะต้องกระตุ้นหรือโน้มน้าวให้ผู้ใช้หันมาใช้ระบบให้มากขึ้น โดยการพัฒนาระบบต้องทำการพัฒนาให้ตรงกับความต้องการ และพยายามทำให้ผู้ใช้พอใจกับระบบ เมื่อผู้ใช้เกิดความไม่พอใจกับระบบ ทำให้ความสำคัญของระบบลดน้อยลงไป ก็อาจจะทำให้ไม่คุ้มค่ากับการลงทุนได้


•เทคโนโลยีสารสนเทศมีบทบาทสำคัญต่อการดำเนินงานทั้งระดับองค์การและอุตสาหกรรม และเป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยเพิ่ม ขีดความสามารถของธุรกิจ และขีดความสามารถในการบริหารงานของผู้บริหารในยุคปัจจุบัน ธุรกิจต้องการระบบสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพ เพื่อการดำรงอยู่และเจริญเติบโตขององค์การ โดยที่เทคโนโลยีสารสนเทศจะส่วนช่วยให้ธุรกิจประสบผลสำเร็จ และสามารถแข่งขันกับธุรกิจอื่นในระดับสากล

ประโยชน์ที่ผู้บริหารจะได้รับ
1. ช่วยให้สามารถเข้าถึงสารสนเทศที่ต้องการได้อย่างรวดเร็วและทันต่อเหตุการณ์ เนื่องจากข้อมูลถูกจัดเก็บและบริหารเป็นระบบ ทำให้ผู้บริหารสามารถจะเข้าถึงข้อมูลได้อย่างรวดเร็วในรูปแบบที่เหมาะสม และสามารถนำข้อมูลมาใช้ประโยชน์ได้ทันต่อความต้องการ

2.ช่วยในการกำหนดเป้าหมายกลยุทธ์และการวางแผนปฏิบัติการ โดยผู้บริหารจะสามารถนำข้อมูลที่ได้จากระบบสารสนเทศมาช่วยในการวางแผนและกำหนดเป้าหมายในการดำเนินงาน เนื่องจากสารสนเทศถูกเก็บรวบรวมและจัดการ อย่างเหมาะสม ทำให้มีประวัติของข้อมูลอย่างต่อเนื่อง สามารถที่จำชี้แนวโน้มของการดำเนินงานได้ว่าน่าจะเป็นไปในลักษณะใด

3.ช่วยในการตรวจสอบประเมินผลการดำเนินงาน เมื่อแผนงานถูกนำไปปฏิบัติในช่วงระยะเวลาหนึ่ง ผู้ควบคุมจะต้องตรวจสอบผลการดำเนินงานโดยนำข้อมูลบางส่วนมาประมวลผลประกอบการประเมินสารสนเทศที่ได้จะแสดงให้เห็นผลการดำเนินงานว่าสอดคล้องกับเป้าหมายที่ต้องการเพียงไร

4.ช่วยในการศึกษาและวิเคราะห์สาเหตุของปัญหา ผู้บริหารสามารถใช้ระบบสารสนเทศประกอบการศึกษาและการค้นหาสาเหตุ หรือข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นในการดำเนินงาน ถ้าการดำเนินงานไม่เป็นไปตามแผนที่วางเอาไว้ อาจจะเรียกข้อมูลเพิ่มเติมออกมาจากระบบ เพื่อให้ทราบว่าข้อผิดพลาดในการทำงานเกิดขึ้นมาจากสาเหตุใด หรือจัดรูปแบบสารสนเทศในการวิเคราะห์ปัญหาใหม่

5. ช่วยให้สามารถวิเคราะห์ปัญหาหรืออุปสรรคที่เกิดขึ้น เพื่อหาวิธีควบคุม ปรับปรุงและแก้ไขปัญหา สารสนเทศที่ได้จากการประมวลผลจะช่วยให้ผู้บริหาร วิเคราะห์ว่าการดำเนินงานในแต่ละทางเลือกจะช่วยแก้ไข หรือควบคุมปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างไร ธุรกิจต้องทำอย่างไรเพื่อปรับเปลี่ยนหรือพัฒนาให้การดำเนินงานเป็นไปตามแผนงานหรือเป้าหมาย


6. ช่วยลดค่าใช้จ่าย ระบบสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพ ช่วยให้ธุรกิจลดเวลา แรงงานและค่าใช้จ่ายในการทำงานลง เนื่องจากระบบสารสนเทศสามารถรับภาระงานที่ต้องใช้แรงงาน จำนวนมาก ตลอดจนช่วยลดขั้นตอนในการทำงาน ส่งผลให้ธุรกิจสามารถลดจำนวนคนและระยะเวลาในการประสานงานให้น้อยลง โดยผลงานที่ออกมาอาจเท่าหรือดีกว่าเดิม ซึ่งจะเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพ และศักยภาพในการแข่งขันทางธุรกิจ


ส่วนประกอบของระบบสารสนเทศ  3 ส่วน 
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
1. เครื่องมือในการสร้างระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ
หมายถึง ส่วนประกอบหรือโครงสร้างพื้นฐานที่รวมกันเข้าเป็น MISและช่วยให้ระบบสารสนเทศดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ โดยจำแนกเครื่องมือในการสร้างระบบสารสนเทศไว้ 2 ส่วน คือ
  1.1 ฐานข้อมูล (Data Base)
         ฐานข้อมูล จัดเป็นหัวใจสำคัญของระบบ MIS เพราะว่าสารสนเทศที่มีคุณภาพจะมาจากข้อมูลที่ดี เชื่อถือได้ ทันสมัย และถูกจัดเก็บอย่างเป็นระบบ ซึ่งผู้ใช้สามารถเข้าถึงและใช้งานได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว ดังนั้นฐานข้อมูลจึงเป็นส่วนประกอบสำคัญที่ช่วยให้ระบบสารสนเทสมีความสมบูรณ์ และปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพ
        1.2 เครื่องมือ (Tools)
         เป็นเครื่องมือที่ใช้จัดเก็บและประมวลผลข้อมูล ปกติระบบสารสนเทศจะใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เป็น อุปกรณ์หลักในการจัดการข้อมูล ซึ่งจะประกอบด้วยส่วนสำคัญต่อไปนี้
             1.2.1 อุปกรณ์ (Hardware) คือ ตัวเครื่องหรือส่วนประกอบของเครื่องคอมพิวเตอร์ รวมทั้งอุปกรณ์ ระบบเครือข่าย
             1.2.2 ชุดคำสั่ง (Software) คือ ชุดคำสั่งที่ทำหน้าที่รวบรวม และจัดการ เก็บข้อมูลเพื่อใช้ในการ บริหารงาน หรือการตัดสินใจ
2. วิธีการหรือขั้นตอนการประมวลผล 
           การที่จะได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ จะต้องมีการจัดลำดับ วางแผนงานและวิธีการประมวลผลให้ถูกต้อง เพื่อให้ได้ข้อมูล หรือสารสนเทศที่ต้องการ
3. การแสดงผลลัพธ์
          เมื่อข้อมูลได้ผ่านการประมวลผล ตามวิธีการแล้วจะได้ สารสนเทศ หรือMIS เกิดขึ้น อาจจะนำเสนอในรูป ตาราง กราฟ รูปภาพ หรือเสียง เพื่อให้การนำเสนอข้อมูลมีประสิทธิภาพ จะขึ้นอยู่กับลักษณะของข้อมูล และลักษณะของการนำไป ใช้งาน

มุมมองของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (Dimensions of Information Systems)
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------


1. Organizations
องค์กรมีโครงสร้างที่ประกอบด้วยหลายระดับโครงสร้าง เผยให้เห็นการแบ่งงานที่ชัดเจน อำนาจและความรับผิดชอบในบริษัท ธุรกิจจัดเป็นลำดับชั้นหรือโครงสร้างพีระมิด ระดับบนของลำดับชั้นประกอบด้วยพนักงานที่เป็นผู้บริหารพนักงานชำนาญการและด้านเทคนิคในขณะที่ระดับล่างประกอบด้วยบุคลากรที่ปฏิบัติงาน

2. Management   
คือการทำความเข้าใจกับหลาย ๆ สถานการณ์ที่ต้องเผชิญกับองค์กร โดยการตัดสินใจและจัดทำแผนปฏิบัติการเพื่อแก้ไขปัญหาขององค์กร กำหนดกลยุทธ์ขององค์กรเพื่อตอบสนองต่อความท้าทาย และจัดสรรทรัพยากรบุคคลและการเงินเพื่อประสานงานให้บรรลุความสำเร็จโดยต้องใช้ความเป็นผู้นำที่มีความรับผิดชอบ

3. Technology
โครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) เป็นพื้นฐานหรือแพลตฟอร์มที่ บริษัท สามารถสร้างระบบข้อมูลเฉพาะได้
3.1 Computer hardware ใช้ในการป้อนข้อมูล การประมวลผลและกิจกรรมเอาท์พุทในระบบข้อมูล ประกอบด้วยคอมพิวเตอร์ที่มีหลายขนาดและรูปร่าง (รวมถึงอุปกรณ์มือถือมือถือ); อุปกรณ์อินพุต, เอาท์พุทและอุปกรณ์จัดเก็บต่างๆ และอุปกรณ์โทรคมนาคมที่เชื่อมโยงเครื่องคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกัน
3.2 Computer software ประกอบด้วยรายละเอียดที่ควบคุมและประสานส่วนประกอบฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์ในระบบสารสนเทศ
3.3 Data management technology  ประกอบด้วยซอฟต์แวร์ที่จัดการข้อมูลองค์กรเกี่ยวกับสื่อจัดเก็บข้อมูลและวิธีการเข้าถึงข้อมูล
3.4 Networking and telecommunications technology  ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์สามารถถ่ายโอนข้อมูลจากแหล่งหนึ่งไปยังอีกแหล่งหนึ่งได้ อีกทั้งคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์การสื่อสารสามารถเชื่อมต่อในเครือข่ายเพื่อแชร์ข้อมูลเสียงภาพเสียงและวิดีโอ




ประเภทของระบบสารสนเทศแบ่งตามระดับการจัดการ 4ระดับ
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
1.ระบบการประมวลผลทางธุรกิจ (Transaction Processing System : TPS)


ระบบสารสนเทศที่ใช้ในการเปลี่ยนข้อมูลดิบจากการปฏิบัติงานให้อยู่ในรูปแบบที่เครื่องจักรสามารถอ่านได้, เก็บรายละเอียดรายการ, ประมวลผลรายการและสั่งพิมพ์รายละเอียดรายการ ออกมาได้ รายการ (Transaction) คือ การกระทำพื้นฐานที่เกิดขึ้นระหว่างการดำเนินการทางธุรกิจ เช่น การขายสินค้า การจองตั๋วเครื่องบิน การซื้อสินค้าผ่านเครดิตการ์ดและการสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าคงคลัง จัดเป็นรายการทั้งสิ้น ระบบประมวลผลรายการนิยมใช้ในการประมวลผลบัญชี, การขาย, หรือประมวลผลข้อมูลสินค้าคงคลัง เนื่องจากข้อมูลเหล่านี้เป็นที่ต้องการของระบบสารสนเทศอื่นๆในองค์กร

2.ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (Management Information System : MIS)


ระบบที่ให้สารสนเทศที่ผู้บริหารต้องการ เพื่อให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยจะรวมทั้ง สารสนเทศภายในและภายนอก สารสนเทศที่เกี่ยวพันกับองค์กรทั้งในอดีตและปัจจุบัน รวมทั้งสิ่งที่คาดว่าจะเป็นในอนาคต นอกจากนี้ระบบเอ็มไอเอสจะต้อง ให้สารสนเทศ ในช่วงเวลาที่เป็นประโยชน์ เพื่อให้ผู้บริหารสามารถตัดสินใจในการวางแผนการควบคุม และการปฏิบัติการขององค์กรได้อย่างถูกต้อง

3.ระบบช่วยตัดสินใจ (Decision Support System : DSS)


ช่วยในการตัดสินใจเกี่ยวกับการบริหารจัดการ การรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล และการสร้างตัวแบบที่ซับซ้อนภายใต้ซอฟต์แวร์เดียวกัน เพื่อแก้ปัญหาที่มีความยุ่งยากซับซ้อน DSS ยังเป็นการประสานการทำงานระหว่างบุคลากรกับเทคโนโลยีทางด้านซอฟต์แวร์ โดยเป็นการกระทำโต้ตอบกัน เพื่อแก้ปัญหาแบบไม่มีโครงสร้าง และอยู่ภายใต้การควบคุมของผู้ใช้ตั้งแต่เริ่มต้นถึงสิ้นสุดขั้นตอน เป็นระบบที่ช่วยผู้บริหารในเรื่องการตัดสินใจโดยเฉพาะข้อมูลที่มีการเปลี่ยนแปลงไม่มีรูปแบบที่แน่นอน มีความยืดหยุ่นในการทางาน และสามารถที่จะตอบสนองได้อย่างรวดเร็ว

4.ระบบสนับสนุนผู้บริหาร (Executive support system : ESS) 
เป็นระบบสนับสนุนการตัดสินใจประเภทหนึ่งซึ่งได้รับการพัฒนามาโดยเฉพาะสำหรับผู้บริหารระดับสูงเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจในปัญหาแบบไม่มีโครงสร้าง ผู้บริหารระดับสูงใช้ระบบ ESS เป็นเครื่องมือที่ช่วยอำนวยความสะดวกรวดเร็วในการบริหารและตัดสินใจ โดยระบบจะให้ข้อมูลที่ถูกต้อง ทันสมัย ตามความต้องเพื่อในการกำหนดวิสัยทัศน์ ภารกิจ กลยุทธ์ วัตถุประสงค์ และเป้าหมาย รวมถึงการวางแผนระยะยาวนอกจากนี้ระบบยังช่วยอำนวยความสะดวกในการติดต่อสื่อสารระหว่างผู้บริหารและบุคลากรในองค์การและระหว่างองค์การด้วย


ความสัมพันธ์ระหว่างระบบต่างๆ


◘ภาพตัวอย่างแสดงความสัมพันธ์ระหว่างระบบต่างๆของระบบสารสนเทศ◘

กระบวนการทางธุรกิจ
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
คือ การรวบรวมกิจกรรมที่จำเป็นในการผลิตผลิตภัณฑ์หรือบริการ  กิจกรรมเหล่านี้มาจากขั้นตอนการผลิตออกมาเป็นผลิตภัณฑ์  ข้อมูลสารสนเทศ  และความรู้ระหว่างผู้เข้าร่วมกระบวนการทางธุรกิจ  โดยกระบวนการทางธุรกิจเป็นวิธีการเฉพาะของแต่ละองค์กร

ตัวอย่างกระบวนการทางธุรกิจ
1.กระบวนการทางธุรกิจด้านการผลิต = การประกอบผลิตภัณฑ์ การตรวจสอบคุณภาพ การออกใบเสร็จ
2.กระบวนการผลิตด้านการขาย/การตลาด = การระบุลูกค้าเป้าหมาย การทำให้ลูกค้ารับรู้ถึงผลิตภัณฑ์ การขายผลิตภัณฑ์
3.กระบวนการผลิตด้านการเงิน/บัญชี =  การจัดทำงบการเงิน การจัดการบัญชีเงินสด
4.กระบวนการผลิตด้านบุคคล = การจัดจ้างพนักงาน การประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงาน บันทึกผลกำไรพนักงาน

ระบบสารสนเทศขององค์กรธุรกิจ (Enterprise Application) 4ประเภท
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------


1.Enterprise Systems or ERP 
คือ ระบบการวางแผนทรัพยากรขององค์กร เป็นระบบที่ใช้ในการจัดการและวางแผนการใช้ทรัพยากรต่างๆ ขององค์กร โดยเป็นระบบที่เชื่อมโยงระบบงานต่างๆ ขององค์กรเข้าด้วยกันตั้งแต่ระบบงานทางด้านบัญชี และการเงิน ระบบงานทรัพยากรบุคคล ระบบบริหารการผลิต รวมถึงระบบการกระจายสินค้า เพื่อช่วยให้การวางแผนและบริหารทรัพยากรขององค์กรเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งยังช่วยลดเวลาและขั้นตอนการทำงานได้อีกด้วย 

2.Supply chain management system : SCM 
การจัดการสายโซ่อุปทาน เป็นกระบวนการของการบริหารทุกขั้นตอน นับตั้งแต่การนำเข้าวัตถุดิบสู่กระบวนการผลิต กระบวนการสั่งซื้อ จนกระทั่งส่งสินค้าถึงมือลูกค้าให้มีความต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพสูงสุด พร้อมกับสร้างระบบให้เกิดการไหลเวียนของข้อมูลที่ทำให้เกิดกระบวนการทำงานของแต่ละหน่วยงานส่งผ่านไปทั่วทั้งองค์การ 

3.Customer relationship management system : CRM 
ระบบบริหารลูกค้าสัมพันธ์ เป็นกระบวนการและเทคโนโลยีเพื่อจัดการสารสนเทศเกี่ยวกับลูกค้าแต่ละบุคคล และจัดการอย่างระมัดระวังในจุดสัมผัสลูกค้า (Customer Touch Points) เพื่อทำให้ลูกค้าจงรักภักดีจุดสัมผัสลูกค้า คือ ทุกโอกาสที่ลูกค้าสัมผัสกับแบรนด์และผลิตภัณฑ์จากประสบการณ์ตรงของบุคคล หรือผ่านการสื่อสารมวลชน เพื่อสังเกตความสัมพันธ์ขั้นตอนดำเนินการCRM จะประกอบด้วยกันทั้งหมด 4 ขั้นตอนคือ1) การแยกแยะผู้มุ่งหวังและลูกค้า (โดยใช้ฐานข้อมูลลูกค้าที่ได้มาจากทุกช่องทางและจุดที่สัมผัสลูกค้า)2) สร้างความแตกต่างในลูกค้าจาก-ความต้องการของลูกค้าและ-คุณค่าของลูกค้าต่อบริษัท3) จัดปฏิสัมพันธ์กับลูกค้าแต่ละคนเพื่อปรับปรุงความรู้ของเราเกี่ยวกับความต้องการของลูกค้าแต่ละคน และสร้างความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้น4) มีผลิตภัณฑ์บริการที่เฉพาะและสื่อสารไปยังลูกค้าแต่ละคน (เช่น Call Center และ Website)

4.Knowledge management Systems : KMS 
ระบบการบริหารจัดการความรู้ คือ ระบบบริหารจัดการความรู้ให้เป็นระเบียบ ครบถ้วน ง่ายต่อการเรียกใช้ จัดเก็บตาม ความต้องการเก็บรักษาความรู้ให้ควบคู่กับองค์กรตลอดไป 
วัตถุประสงค์ของ Knowledge Management : KM
1. เพื่อปรับปรุงกระบวนการดําเนินงานทางธุรกิจที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
2. เพื่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ ๆ 
3. เพื่อเป็นการปรับปรุงเทคนิค กระบวนการโดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาองค์ความรู้และนําความรู้นั้นไปใช้ให้เกิดประโยชน์

การทำงานร่วมกัน (Collaboration) 
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
คือ การทำงานร่วมกันหรือทำงานร่วมกับผู้อื่น เพื่อบรรลุเป้าหมายร่วมกันและมีเป้าหมายที่ชัดเจน การทำงานร่วมกันมุ่งเน้นไปที่ความสำเร็จของงาน และโดยปกติจะเกิดขึ้นในธุรกิจหรือองค์กรอื่น ๆ และระหว่างธุรกิจด้วยกัน

เครือข่ายสังคมธุรกิจ (Social Business) 
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
คือ การใช้แพลตฟอร์มของเครือข่ายทางสังคมรวมถึง Facebook, Twitter และเครื่องมือทางสังคมภายในองค์กร เพื่อดึงดูดพนักงาน ลูกค้า และซัพพลายเออร์ของตน เครื่องมือเหล่านี้สามารถตั้งค่าโปรไฟล์ และติดตามการอัปเดตสถานะของกันและกันได้ เป้าหมายของเครือข่ายสังคมธุรกิจคือการสื่อสารกับกลุ่มต่างๆทั้งภายในและภายนอกองค์กรเพื่อเร่งรัดและเสริมสร้างการแบ่งปันข้อมูล นวัตกรรมและการตัดสินใจ


♦ Social networks คือเว็บไซต์ที่เชื่อมโยงผู้คนไว้ด้วยกัน ผ่านInternet ซึ่งเป็นเว็บไซต์ช่วยให้คุณหาเพื่อนบนโลกอินเตอร์เน็ตได้ง่ายๆ เราสามารถที่จะสร้างพื้นที่ส่วนตัวขึ้นมา เพื่อแนะนำตัวเองได้ โดยเลือกได้ว่าต้องการรู้จักกับใคร หรือเป็นเพื่อนกับใคร ก็ได้ ตัวอย่าง Social Network เช่น Hi5, Facebook, MySpace.com, twitter เป็นต้น

♦ Crowd sourcing เป็นการรวมกันของคำว่า Crowd + Outsourcing คือการกระจายปัญหาไปยังกลุ่มค้นเพื่อค้นหาคำตอบ และวิธีการในการแก้ปัญหาทางธุรกิจนั้นๆ บริษัทสามารถ broadcast คำถามหรือปัญหาที่ต้องการคำตอบไปยังกลุ่มคนขนาดใหญ่เพื่อให้ได้มาซึ่งวิธีการใหม่ ๆ Crowd หรือ User ส่วนมากในการทำ Crowdsourcing เราจะหมายถึงกลุ่มชุมชน Onlineหรือในโลก Cyber นั่นเอง

♦ Shared  workspace คือ การที่บรรดาธุรกิจขนาดเล็กและเจ้าของกิจการทั้งหลายมานั่งทำงานร่วมกันในสถานที่เดียวกัน ซึ่งเป็นแนวทางการทำงานรูปแบบใหม่ที่กำลังเติบโตอยู่ในขณะนี้

♦ Blogs and wikis
(blogเป็นคำรวมมาจากคำว่า เว็บล็อก ( weblogเป็นรูปแบบเว็บไซต์ประเภทหนึ่ง ซึ่งถูกเขียนขึ้นในลำดับที่เรียงตามเวลาในการเขียน ซึ่งจะแสดงข้อมูลที่เขียนล่าสุดไว้แรกสุด บล็อกโดยปกติจะประกอบด้วย ข้อความ ภาพ ลิงก์ ซึ่งบางครั้งจะรวมสื่อต่างๆ ไม่ว่า เพลง หรือวิดีโอ
      (wiki) คือ ลักษณะของเว็บไซต์แบบหนึ่ง ที่อนุญาต ให้ผู้ใช้ เพิ่มและแก้ไขเนื้อหาได้โดยง่าย ซึ่งบางครั้งไม่จำเป็นต้องการลงทะเบียนเพื่อแก้ไข ด้วยความง่ายในการแก้ไขและโต้ตอบ วิกิเว็บไซต์มักจะถูกนำมาใช้ในการร่วมเขียน

      ♦ Social Commerce  การแชร์ความคิดเห็นเกี่ยวกับการซื้อขายบนพื้นที่สื่อออนไลน์

♦ File share คือ Folder ที่ทำการการ Share อยู่บน Server ให้บุคคลกรในองค์กร Access เข้าไปถึงทรัพยากรที่อยู่ในภายในFolder ที่ทำการ Share อยู่บน Server และเนื่องจากองค์กรมีบุคคลกรที่มีตำแหน่งและหน้าที่ความรับผิดชอบที่แตกต่างกัน จึงต้องมีการกำหนด premissions ในการเข้าถึง File Share

♦ Social Marketing  คือ การออกแบบกิจกรรมการตลาดเพื่อให้ประโยชน์ตกไปถึงสังคม แต่คำว่าSocietal Marketing เป็นการนำเอาเนื้อหาสาระประเด็นทางสังคมมาใส่ในโฆษณาหรือกิจกรรมทางการตลาดของตัวเอง ประโยชน์อาจจะไม่ได้ตกอยู่กับสังคม แต่อยู่กับองค์กร ทั้งนี้ เพื่อทำให้เกิดความใกล้ชิดกับกลุ่มเป้าหมาย เป็นการทำการตลาดทางสังคม ไม่ใช่การตลาดเพื่อสังคม

♦ Communities คือ การอภิปรายร่วมกันหรือแบ่งปันความเชี่ยวชาญ

ประโยชน์จากการใช้การทำงานร่วมกันของธุรกิจ
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ด้านผลผลิต =สามารถจับความรู้จากผู้เชี่ยวชาญได้ แก้ไขปัญหาได้รวดเร็ว มีความผิดพลาดน้อยลง
ด้านคุณภาพ=ทำงานร่วมกันสามารถพบความผิดพลาดและแก้ไขได้รวดเร็ว ใช้เทคโนโลยีในการทำงานลดความล่าช้าในการออกแบบและผลิต
ด้านนวัตกรรม =เกิดความคิดทางนวัตกรรมใหม่ๆสำหรับการให้บริการ มีความหลากหลาย
ด้านการบริการลูกค้า = สามารถแก้ปัญหาเรื่องการร้องเรียนของลูกค้าได้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากกว่าเดิม
ด้านการดำเนินงานทางการเงิน=ยอดขายดีขึ้นอันเนื่องมาจากการเติบโตและผลการดำเนินงานทางการเงินทั้งหมด











วันพุธที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2561

บทที่ 2 องค์กร การจัดการ การตัดสินใจ

ความหมายขององค์กร (Organization)
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------


องค์กร (Organization) คือ โครงสร้างทางสังคมที่ได้จัดตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการ มีความมั่นคง คณะทำงานในองค์กรจะร่วมแรงร่วมใจในการทำงานอย่างมีระบบ มีกฎเกณฑ์ ข้อบังคับ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายแห่งความสำเร็จ
        ♦ตามความหมายทางเทคนิค องค์กร หมายถึง โครงสร้างทางสังคมอย่างเป็นทางการที่มีความมั่นคง โดยรับเอาทรัพยากรจากสิ่งแวดล้อมผ่านกระบวนการเพื่อสร้างหรือผลิตผลลัพธ์ องค์ประกอบขององค์การ 3 ส่วน คือ
        1.ปัจจัยหลักการด้านการผลิต ได้แก่ เงินทุนและแรงงาน
        2.กระบวนการผลิต ซึ่งจะเปลี่ยนสิ่งนำเข้าให้เป็นผลิตภัณฑ์
        3.ผลผลิต ได้แก่ สินค้าและบริการ
       ♦ตามความหมายในเชิงพฤติกรรม องค์กร หมายถึง บุคลากรในองค์กรจะพัฒนาวิธีการทำงานของตน มีรูปแบบความสัมพันธ์กับบุคคลอื่นทั้งผู้ร่วมงาน และผู้ที่อยู่ในระดับที่สูงกว่าเกี่ยวกับการทำงาน ปริมาณงาน และเงื่อนไขในการทำงาน

ความสัมพันธ์ระหว่างสารสนเทศและองค์กร
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
         เทคโนโลยีสารสนเทศมีความสำคัญต่อประสิทธิภาพขององค์กรหรือธุรกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัจจุบันโลกมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา มีการแข่งขันทางธุรกิจสูง องค์กรที่มีการบริหารงานที่มีประสิทธิภาพ สามารถเข้าถึงข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว ย่อมทำให้องค์กรสามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้ ดังนั้นการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในองค์กร เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์ องค์กรสร้างความแข็งแกร่ง เพิ่มประสิทธิในการผลิตสินค้าและบริการนำสู่ธุรกิจยุคใหม่ต่อไป ประเภทของระบบสารสนเทศที่สำคัญ 3 ประเภท ดังนี้ 
          1.ระบบสารสนเทศจำแนกตามประเภทของธุรกิจ : โดยจะต้องออกแบบให้สอดคล้องและเหมาะสมกับลักษณะงานขององค์การเหล่านั้น ระบบสารสนเทศที่จำแนกตามประเภทของธุรกิจ โดยทั่วไปจะเป็นระบบสารสนเทศขนาดใหญ่ที่ประกอบด้วยระบบสารสนเทศที่จำแนกตามหน้าที่ย่อยๆ หลายระบบ 
         2.ระบบสารสนเทศจำแนกตามหน้าที่ของงาน : จะเป็นระบบที่จำแนกตามลักษณะหรือหน้าที่ของงานหลัก ซึ่งแต่ละระบบสามารถประกอบด้วยระบบสารสนเทศย่อยๆ ที่เป็นกิจกรรมของงานหลัก
         3.ระบบสารสนเทศจำแนกตามลักษณะการดำเนินงาน : จะถูกออกแบบให้มีความสอดคล้องกับลักษณะงานและระดับของผู้ใช้งานเพื่อให้สอดคล้องกับการนำสารสนเทศไปใช้ประกอบการบริหารและตัดสินใจ

        ♦ผลกระทบจากการนำสารสนเทศมาใช้กับองค์กร
          องค์การที่เจริญเติบโตในอนาคตต้องสามารถประยุกต์เทคโนโลยีเข้าไปในโครงสร้างการบริหารงาน และการติดต่อสื่อสารโดยเทคโนโลยีสารสนเทศเปรียบเสมือนเส้นประสาทของธุรกิจ แต่การประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศในองค์การจะส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานและบุคลากรมากกว่าการเพิ่มประสิทธิภาพ หรือการลดขั้นตอนในการทำงาน การจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศจะเกี่ยวข้องกับจริยธรรมและความรับผิดชอบต่อส่วนรวม เช่น การไหลเวียนของข้อมูลผ่านขอบเขตขององค์การและเขตแดนของประเทศ   การติดตามผลและตรวจสอบการทำงานกับความเป็นส่วนตัวของพนักงาน การทุจริตหรือฉ้อโกงในระบบเครือข่าย    การก่อนการร้ายหรือการโจรกรรมซึ่งผู้บริหารจะต้องติดตามทำความเข้าใจในศักยภาพและผลกระทบของเทคโนโลยีที่มีต่อองค์การและสังคม    เพื่อให้เลือกใช้เทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์สูงสุดและก่อให้เกิดผลกระทบในด้านลบน้อยที่สุดต่อองค์การและสังคมแวดล้อม
            สรุปแล้วระบบสารสนเทศมีผลกระทบต่อกระบวนการทำงานและโครงสร้างขององค์การดังนี้ 
           1. ลดระดับขั้นของการจัดการ 
           2. มีความคล่องตัวในการดำเนินงาน 
           3. ลดขั้นตอนการดำเนินงาน  
           4. เปลี่ยนแปลงกระบวนการจัดการ   
           5. กำหนดขอบเขตการดำเนินงานใหม่

สาเหตุของการต่อต้านการใช้สารสนเทศของคนในองค์กรและวิธีการนำระบบมาใช้ให้ประสบความสำเร็จ
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
เกิดจากต้องทำความเข้าใจต่อบทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีต่อธุรกิจปัจจุบัน เพื่อให้มีความรู้ทักษะ และความเข้าใจในขีดความสามารถและศักยภาพของเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยการจัดฝึกอบรมหรือบรรยายพิเศษ  อีกทั้งสารสนเทศยังก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงรูปแบบ โครงสร้างการทำงานของบุคคลในองค์กร
      ♦ออกแบบระบบให้ประสบผลสำเร็จต้องคำนึงถึง
     -สภาพแวดล้อมการทำงานในองค์กร
     -ดูโครงสร้างขององค์กรแบ่งตามความเชี่ยวชาญในการทำงานและกระบวนการทางธุรกิจ
     -วัฒนธรรม กฎระเบียบขององค์กร
     -ประเภทขององค์กรและการเป็นผู้นำ
     -ผลกระทบจากการใช้สารสนเทศต่อผู้ใช้งานและทัศนคติผู้ใช้งานต่อระบบ
     -ศึกษาประเภทของงาน กระบวนการทางธุรกิจที่ระบบสารสนเทศสามารถรองรับได้

แรงผลักดันในการแข่งขันของ Porter’s competitive forces model 
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------




คือเครื่องมือสำหรับวิเคราะห์คู่แข่ง สภาพแวดล้อมการแข่งขัน เพื่อวางแผนกลยุทธ์ของกิจการและปัจจัยที่สำคัญต่อการดำเนินธุรกิจ โดยมี Michael E. Porter เป็นผู้คิดทฤษฎีนี้ 
1. New Market Entrants (การเข้ามาของคู่แข่งรายใหม่)  เป็นภัยคุกคามที่ร้ายแรง เพราะจะทำให้ส่วนแบ่งทางการตลาดของธุรกิจลงลด การที่ผู้ประกอบการเลือกทำธุรกิจที่มีคูล้อมรอบ (Moat) จะทำให้คู่แข่งรายใหม่เข้ามาในตลาดได้ยาก คูล้อมรอบธุรกิจได้แก่ ตราสินค้าที่แข็งแกร่ง ฐานลูกค้าที่จงรักภักดีในแบรนด์สินค้าความสามารถในบริหารต้นทุน ฯลฯ การเข้ามาของคู่แข่งอาจจะส่งผลกระทบต่อรายได้ของกิจการ ดังนั้นผู้บริหารจะต้องมีการวิเคราะห์งบการเงินทั้งกิจการตนเอง และคู่แข่ง (ถ้าสามารถหาได้ ซึ่งสามารถเข้าถึงได้จากเว็บไซต์ของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า และบริษัทเอกชนที่ให้บริการข้อมูล ซึ่งอาจมีค่าใช้จ่าย) 

2. Substitute Products.(สินค้าทดแทน) ผู้ประกอบการจะต้องพิจารณาว่าลูกค้าสามารถหาสินค้าทดแทนได้ยากง่ายเพียงใด การเปลี่ยนไปใช้สินค้าทดแทนมีความยากง่ายเพียงใด ระดับราคาและคุณภาพของสินค้าทดแทน

3. Customer (การต่อรองของลูกค้า)ผู้ประกอบการต้องสร้าง คุณค่าในตัวสินค้า(คุณค่าของสินค้าคือประโยชน์ที่ลูกค้าได้รับจากการใช้งานผลิตภัณฑ์) เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า หากกิจการต้องพึ่งพิงลูกค้ารายใหญ่เพียงไม่กี่รายนั้นเป็นความเสี่ยงที่ลูกค้าสามารถต่อรองราคาสินค้าและบริการได้ ซึ่งจะทำให้กำไรของกิจการลดลง ผู้ประกอบการจะต้องกำหนดกลุ่มลูกค้าที่ชัดเจน นอกจากนั้นผู้ประกอบการจะต้องสร้างแบรนด์สินค้าให้แข็งแกร่ง

4. Suppliers หรือ ซัพพลายเออร์ (ช่องทางผู้จัดหาวัตถุดิบ)  ผู้ประกอบการจะต้องพิจารณาในสภาพวาดล้อมของธุรกิจว่ามีผู้จัดจำหน่ายรายใดมีอำนาจต่อรองได้สูง การรวมกลุ่มของผู้ประกอบการจะทำให้มีอำนาจต่อรองกับผู้จัดหาปัจจัยการผลิต

ระบบสารสนเทศมีบทบาทต่อกลยุทธ์การบริหารอย่างไร
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
1.ความเป็นผู้นำต้นทุนต่ำ ใช้ระบบสารสนเทศเพื่อให้ได้ต้นทุนการดำเนินงานที่ต่ำสุดและราคาต่ำสุด
2.ความแตกต่างของผลิตภัณฑ์ ใช้ระบบสารสนเทศเพื่อคิดและสร้างผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ ๆ หรือเพิ่มความสะดวกสบายของลูกค้าในการใช้ผลิตภัณฑ์และบริการที่มีอยู่ให้ดียิ่งขึ้น 
3.มุ่งเน้นที่ระบบข้อมูลช่องทางการตลาด ทำให้บริษัทสามารถวิเคราะห์รูปแบบการซื้อของลูกค้า รสนิยม และความต้องการได้อย่างใกล้ชิด เพื่อให้แคมเปญโฆษณาและการตลาดมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เจาะตลาดมากยิ่งขึ้น
4.ความสัมพันธ์กับลูกค้าและซัพพลายเออร์ ใช้ระบบข้อมูลเพื่อพัฒนาความผูกพันและความภักดีกับลูกค้าและซัพพลายเออร์

กลยุทธ์การแข่งขันขององค์กรกับการนำระบบสารสนเทศมาใช้
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ความเป็นผู้นำต้นทุนต่ำ (Lower Costs)
-ใช้ระบบสารสนเทศเพื่อลดต้นทุนในส่วนของกระบวนการธุรกิจ
-ใช้ระบบสารสนเทศเพื่อลดต้นทุนแก่ลูกค้าหรือผู้ขายปัจจัยการผลิต

ด้านความแตกต่างของผลิตภัณฑ์ (Differentiate)
-พัฒนาคุณลักษณะเด่นต่างๆ ทางระบบสารสนเทศ เพื่อประโยชน์ต่อการผลิตสินค้าและบริการต่างๆ ให้มีความแตกต่างกันออกไป
-ใช้คุณลักษณะเด่นของระบบสารสนเทศในการลดข้อได้เปรียบจากความแตกต่างในตัวสินค้าของคู่แข่งขัน
-ใช้คุณลักษณะเด่นของระบบสารสนเทศในการเปิดตัวสินค้าและบริการให้แก่ตลาดเฉพาะกลุ่ม

ด้านนวัตกรรม (Innovation)
-สร้างสินค้าและบริการใหม่ๆ ด้วยการนำส่วนประกอบของระบบสารสนเทศมาใช้
- พัฒนาตลาดที่มีเอกลักษณ์เฉพาะหรือตลาดเฉพาะกลุ่ม ด้วยการนำระบบสารสนเทศเข้ามาช่วย
- เปลี่ยนแปลงกระบวนการทางธุรกิจแบบใหม่ทั้งหมด ด้วยการนำระบบสารสนเทศเข้ามาใช้ เพื่อลดต้นทุน ปรับปรุงคุณภาพและเพิ่มประสิทธิภาพให้ดียิ่งขึ้น

ด้านการเติบโต (Promote Growth)
-ใช้ระบบสารสนเทศเพื่อบริหารจัดการธุรกิจให้ขยายตัวยิ่งขึ้น ซึ่งครอบคลุมทั้งส่วนภูมิภาค จนถึงระดับโลก
-ใช้ระบบสารสนเทศในการสร้างสินค้าหรือบริการใหม่ๆ ให้มีความหลากหลาย รวมถึงการขยายธุรกิจไปยังธุรกิจอื่นๆ ที่ยังคงเกี่ยวข้องกับธุรกิจเดิมอยู่

ด้านการสร้างพันธมิตร (Develop Alliances)
-ใช้ระบบสารสนเทศในการสร้างองค์กรเสมือนของหุ้นส่วนที่ทำธุรกิจร่วมกัน
-พัฒนาระบบสารสนเทศระดับองค์กรแบบสากล ที่สามารถเชื่อมโยงผ่านอินเตอร์เน็ต และเอ็กซ์ทราเน็ต เพื่อสนับสนุนกลยุทธ์ทางธุรกิจในด้านของการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างลูกค้า ผู้ขายปัจจัยการผลิต ผู้รับเหมาช่วง และอื่นๆ 

ความหมายและหน้าที่ของการจัดการ
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
          การจัดการ (Management) หมายถึง กระบวนการที่จะทำให้บรรลุถึงเป้าหมายขององค์กร ซึ่งเป็นภารกิจของบุคคลหนึ่งหรือหลายคนที่เข้ามาทำหน้าที่ประสานทรัพยากรต่างๆขององค์กร และความพยายามของสมาชิกทำให้เกิดกิจกรรมต่างๆที่นำไปสู่การบรรลุความสำเร็จขององค์กร โดยการวางแผนการจัดองค์กร การจัดคนเข้าทำงานการ อำนวยการและการควบคุมทรัพยากรขององค์กร ซึ่งต้องเผชิญกับสภาพแวดล้อมภายนอกองค์กรที่มีการแข่งขันมากขึ้น ทรัพยากรลดลง การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วของเทคโนโลยี การตอบสนองต่อวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน การเผชิญกับข้อจำกัดทางกฎหมายและความต้องการของลูกค้าที่เปลี่ยนแปลง

♦หน้าที่ทางการจัดการโดยทั่วไปแบ่งออกเป็น 5 ประการคือ
1.การวางแผน ( planning ) เป็นการกำหนดแนวทางการดำเนินงานขององค์กรในอนาคตในลักษณะของแผนงานอย่างกว้างๆผลลัพธ์ที่ได้มาจะเป็นรูปแบบวิธีการดำเนินงานระยะเวลาและทรัพยากรที่ใช้ในการดำเนินงาน

2.การจัดองค์กร(Organizing) เป็นการกำหนดโครงสร้างขององค์กรเพื่อแสดงให้เห็นความสำคัญของงาน แสดงให้เห็นถึงการใช้อำนาจหน้าที่และการตัดสินใจเพื่อการดำเนินกิจกรรมต่างๆขององค์กร

3.การจัดคนเข้าทำงาน (Staffing) เป็นการจัดสรรบุคลากรให้เหมาะสมกับการปฏิบัติงาน ประเมินผลงานของพนักงาน กำหนดสิ่งตอบแทนการทำงานของพนักงาน และเพิ่มพูนความรู้ความสามารถของพนักงานให้สูงขึ้น ซึ่งเป็นผลให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

4.การอำนวยการ (Directing) เป็นการสั่งการหรือให้แนวทางแก่ผู้ใต้บังคับบัญชาในเรื่องที่เกี่ยวกับงานที่มอบหมายให้ผู้บริหารต้องประสานงานระหว่างทีมงานให้เป็นไปอย่างสะดวกและรวดเร็ว โดยใช้การสื่อสารรูปแบบที่เหมาะสม รวดเร็วและประหยัดต่อองค์กร

5.การควบคุม (Controlling) เป็นการควบคุมให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างเหมาะสมคุ้มกับการลงทุน ผู้บริหารต้องพิจารณาว่าจะเลือกใช้วิธีการใดในการควบคุม เช่น ปริมาณ เวลา คุณภาพ หรือ งบประมาณ และการประเมินผลการดำเนินงานเป็นไปอย่างเหมาะสม

ระดับของผู้บริหาร 
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ระดับของผู้บริหารโดยทั่วไปแบ่งออกเป็น 3 ระดับคือ
         1. ผู้บริหารระดับสูง (Top Manager) มีอำนาจในการบังคับบัญชาโดยทั่วทั้งองค์กร โดยการสั่งการลงไปยังผู้บริหารระดับกลางและร่างลักษณะงาน ส่วนใหญ่จะเน้นงานที่ต้องใช้ความคิดในการวิเคราะห์และการตัดสินใจ เป็นเรื่องที่ไม่มีความแน่นอนและเกี่ยวข้องกับปัจจัยภายนอกต่างๆ
        2.ผู้บริหารระดับกลาง (Middle Manager) ทำหน้าที่ในการควบคุมการบริหาร(Management Control) ได้แก่ การวางแผนในการปฏิบัติงาน การติดตามการทำงานตามแผนที่วางไว้ การตรวจสอบและติดตามงานว่าเป็นไปตามแผนที่วางไว้ การจัดสรรทรัพยากร และการประเมินผลของการทำงาน เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ขององค์กร
        3.ผู้บริหารระดับล่าง (Low-level Manager) ทำหน้าที่ในการควบคุมการปฏิบัติงาน (Operational Control) ให้ได้ผลและมีประสิทธิภาพ และเป็นผู้รายงานผลการปฏิบัติงานไปยังผู้บริหารระดับกลางและระดับสูง

♦ความสำคัญและลักษณะของสารสนเทศที่ต้องการของผู้บริหารระดับต่างๆขององค์กร
ความสำคัญและลักษณะ
ผู้บริหารระดับต้น
ผู้บริหารระดับกลาง
ผู้บริหารระดับสูง
จุดมุ่งหมาย
ระดับปฏิบัติงาน
ระดับหน่วยงาน
ระดับองค์กร
แหล่งที่มาของสารสนเทศ
ส่วนใหญ่มาจากภายในองค์กร
มาจากทั้งภายในและภายนอก
ส่วนใหญ่มาจากภายนอกองค์กร
ขอบเขตของสารสนเทศ
แคบลึก
ปานกลาง
กว้างมาก
ระยะเวลา
ระยะสั้น
ระยะกลาง
ระยะยาว
ลักษณะของสารสนเทศ
มีรายละเอียดมาก
มีรายละเอียดปานกลาง
สรุป
ความถี่ของสารสนเทศที่ต้องการ
บ่อยครั้ง เป็นประจำ
เป็นบางช่วง
นานๆครั้ง
ลักษณะของการตัดสินใจ
มีแบบแผนที่ชัดเจนและแน่นอน
มีแบบแผนบ้าง
ไม่มีแบบแผนที่ชัดเจนแน่นอน

ความต้องการสารสนเทศต่อแต่ละบทบาทของผู้บริหาร
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
        เมื่อกล่าวถึงหน้าที่ที่เกี่ยวกับการจัดการในองค์กรมักมุ่งไปที่หน้าที่ต่างๆในขบวนการจัดการ ซึ่งผู้บริหารแต่ละคนให้ความสําคัญและเวลาในการทําหน้าที่การจัดการเหล่านี้แตกต่างกัน นอกจากนี้ยังขึ้นกับลักษณะการดําเนินงานขององค์กรที่แตกต่างกันด้วย (เช่น มีลักษณะการดําเนินงานเป็นองค์กรที่แสวงหากําไรหรือองค์กรที่ไม่แสวงหากําไร) ระดับของผู้บริหารที่ต่างกัน (ระดับต้น ระดับกลาง ระดับสูง) และขนาดขององค์กรที่ต่างกัน ตัวอย่างเช่น ผู้บริหารที่อยู่ในระดับบริหารที่แตกต่างกันจะให้เวลาในการทํากิจกรรมของแต่ละหน้าที่แตกต่างกัน และเมื่อพิจารณาถึงกิจกรรมของผู้บริหารในองค์การแล้ว การจัดการสามารถจัดแบ่งได้เป็น 3 กลุ่ม หรือที่เรียกว่า บทบาทด้านการจัดการของ Mintzberg (Mintzberg’s managerial roles) ได้แก่ บทบาทด้านระหว่างบุคคล (interpersonal roles) บทบาทด้านข่าวสาร (informational roles) และบทบาทด้านการตัดสินใจ (decisional roles) 



♦บทบาทของผู้บริหารตามแนวความคิดของ Mintzberg จากการวิเคราะห์พฤติกรรมของผู้บริหารในแต่ละวัน ได้เป็นบทบาทของผู้บริหารออกเป็น 3 กลุ่มหรือ 10 บทบาท ดังนี้คือ

1.บทบาทระหว่างบุคคล
       บทบาทระหว่างบุคคล (interpersonal) หมายถึง ผู้บริหารเป็นผู้ที่มีบทบาทต่อบุคคลในองค์กรและภายนอกองค์กร โดยจะเป็นตัวแทนขององค์กรในการติดต่อกับสังคมภายนอกองค์กร และเป็นตัวแทนขององค์กรในการติดต่อสื่อสารกับหน่วยงานและบุคลากรในองค์กรเกี่ยวกับงานภายในองค์กร บทบาทระหว่างบุคคลมีบทบาทที่ผู้บริหารมีหน้าที่ต้องรับผิดชอบ 3 ประเภทคือ
      1.1 หัวหน้า (Figurehead) คือ บทบาทในการจูงใจหรือบังคับบัญชาให้บุคลากรปฏิบัติตามหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบ
      1.2 ผู้นำ (Leader) คือ บทบาทในการกระตุ้นจูงใจ ให้ผู้ที่อยู่ใต้บังคับบัญชาปฏิบัติตามหน้าที่ในการดำเนินงานหรือด้านอื่นๆ
      1.3 ผู้ติดต่อ (Liaison) คือ บทบาทในการติดต่อกับองค์กรหรือหน่วยงานภายนอกเพื่อให้ได้ข้อมูลและบริการด้านการค้า
2.บทบาทด้านข่าวสาร
       บทบาทด้านข่าวสาร(information roles)  หมายถึง บทบาทที่ผู้บริหารทำหน้าที่เสมือนเป็นศูนย์รวมของข้อมูลข่าวสาร ทั้งการรับและการส่งข้อมูลข่าวสารที่ทันสมัยและเชื่อถือได้ไปยังบุคคลที่เกี่ยวข้อง จึงมีบทบาทที่ผู้บริหารมีหน้าที่รับผิดชอบ 3 ประเภทคือ
       2.1 ผู้ตรวจสอบ (Monitor) คือ บทบาทในการติดตามและรับข้อมูลมาใช้ เพื่อให้เกิดความเข้าใจองค์กรและสภาพแวดล้อมภายนอกทั้ง
       2.2 ผู้เผยแพร่ (Disseminator) คือ บทบาทในการส่งข้อมูลที่ได้รับจากภายนอก หรือจากหน่วยงานย่อยให้กับบุคลากรขององค์กร
       2.3 โฆษก (Spokesman) คือ บทบาทในการส่งข้อมูลไปยังภายนอก ตามแผนหรือนโยบายขององค์กรเสมือนเป็นโฆษกขององค์กร
3.บทบาทด้านการตัดสินใจ
         บทบาทด้านการตัดสินใจ (decisional roles) หมายถึง บทบาทที่ผู้บริหารทำหน้าที่เป็นผู้ตัดสินใจในระดับองค์กร มีบทบาทที่ผู้บริหารมีหน้าที่ต้องรับผิดชอบเกี่ยวกับการตัดสินใจ 4 ประเภทคือ
      3.1 ผู้จัดการ (Entrepreneur) คือ บทบาทในการจัดการกับสภาพแวดล้อมที่เป็นโอกาส และริเริ่มหรือแนะนำในด้านหน้าที่การจัดการภายในองค์กร
      3.2 ผู้จัดการสิ่งรบกวน (Disturbance handler) คือ บทบาทในการปรับการทำงานให้ไปในทางที่ถูกเมื่อองค์กรพาเชิญกับสิ่งรบกวนที่ไม่คาดคิดมาก่อน
      3.3 ผู้จัดทรัพยากร (Resource Allocator) คือ บทบาทในการจัดสรรทรัพยากรให้แก่หน่วยงานต่างๆตาม แผนกลยุทธ์ที่วางไว้
      3.4 ผู้เจรจา (Negotiator) คือ บทบาทในการเป็นตัวแทนขององค์กรในการติดต่อเจรจาหรือแก้ปัญหาความขัดแย้งของกลุ่มหรือกับองค์กรอื่นๆ

การตัดสินใจคืออะไร?
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
การตัดสินใจหมายถึง กระบวนการในการเลือกทางเลือกในการปฏิบัติ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่วางไว้ เนื่องจากการดำเนินงานภายในองค์กรต้องเผชิญกับปัญหาต่างๆมากมาย ในการแก้ปัญหานั้นอาจมีวิธีที่เป็นไปได้หลายทาง จึงจำเป็นต้องทำการตัดสินใจเลือกทางเลือกในการแก้ปัญหาที่เหมาะสม เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ขององค์กรที่ได้วางไว้ให้มากที่สุดโดยต้องคำนึงถึงความเป็นไปได้ และความผันแปรของตัวแปรต่างๆที่เกี่ยวข้อง

♦ระดับของการตัดสินใจ
        1.การตัดสินใจระดับกลยุทธ์ (Strategic Decision Making) เป็นการตัดสินใจที่มีผลในระยะยาวต่อทั้งองค์กร ซึ่งส่งผลต่อวัตถุประสงค์ เป้าหมาย และนโยบายขององค์กร โดยทั่วไปจะเป็นการตัดสินใจของผู้บริหารระดับสูง
        2.การตัดสินใจในระดับการควบคุมการบริหาร (Management Control Decision Making) เป็นการตัดสินใจที่มีผลต่อส่วนใดส่วนหนึ่งขององค์กร ที่เป็นส่วนย่อยอยู่ภายใต้การตัดสินใจระดับกลยุทธ์ เป็นการตัดสินใจของผู้บริหารระดับกลาง เกี่ยวกับการวัดผลการปฏิบัติงาน หรือการควบคุมประสิทธิภาพของการปฏิบัติงาน
        3.การตัดสินใจระดับปฏิบัติการ (Operational Control Decision Making) เป็นการตัดสินใจที่มีผลต่อการปฏิบัติงานและกิจกรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้นในแต่ละวันเกี่ยวข้องกับกิจกรรม งาน เป้าหมาย และทรัพยากรที่ถูกกำหนดไว้เรียบร้อยแล้วโดยทั่วไปจะเป็นการตัดสินใจของผู้บริหารระดับล่าง
        4.การตัดสินใจของผู้เชี่ยวชาญ (Knowledge-level Decision Making) เป็นการตัดสินใจของผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งเกี่ยวข้องกับการประเมินทางเลือกของสินค้าหรือบริการใหม่ การสื่อสารความรู้ใหม่ และวิธีการกระจายข้อมูลข่าวสารไปยังทุกหน่วยขององค์กร

รูปแบบการตัดสินใจของผู้บริหาร
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
        ผู้บริหารในระดับปฏิบัติการ ระดับกลวิธี และระดับกลยุทธ์ มีการตัดสินใจแตกต่างกันไปตามลักษณะของงานที่รับผิดชอบในแต่ละระดับของการบริหาร เป็นสาเหตุให้รูปแบบของปัญหาที่เกิดขึ้นแตกต่างกันไป เพราะปัญหาบางอย่างมีลักษณะที่ชัดเจนสามารถตัดสินใจด้วยวิธีการเดียวกันทุกครั้ง โดยส่วนใหญ่จะเป็นปัญหาของผู้บริหารในระดับปฏิบัติการ แต่ปัญหาบางอย่างมีลักษณะที่ไม่ชัดเจน ไม่สามารถตัดสินใจด้วยวิธีการเดียวทุกครั้ง ต้องอาศัยประสบการณ์หรือทักษะของผู้ตัดสินใจประกอบกันซึ่งเป็นส่วนใหญ่จะเป็นกาตัดสินใจของผู้บริหารในระดับสูง  รูปแบบการตัดสินใจของผู้บริหาร แบ่งออกเป็น 3 รูปแบบ ดังนี้
1. การตัดสินใจแบบมีโครงสร้าง (Structure)
•เป็นการตัดสินใจที่ใช้หลักวินิจฉัยแบบมีหลักเกณฑ์หรือหลักการที่แน่นอนชัดเจน หรือเป็นกระบวนการตัดสินใจที่มีการกำหนดทางแก้ไขไว้ล่วงหน้า เนื่องจากเป็นการตัดสินใจเกี่ยวดับปัญหาที่ทราบดีและมักเกิดขึ้นซ้ำๆ เป็นประจำ โดยวิธีการในการแก้ไขปัญหาที่ดีที่สุดจะถูกกำหนดไว้อย่างชัดเจนตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้ และมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดค่าใช้จ่ายต่ำที่สุดหรือเพื่อให้เกิดกำไรสูงสุด เช่น
- การหาระดับสินค้าคงคลังที่เหมาะสม
- การจัดซื้อสินค้าในปริมาณที่ทำให้เกิดการประหยัด
- การเลือกการลงทุนที่เหมาะสมที่สุด
•การตัดสินใจแบบนี้มักใช้แบบจำลองคณิตศาสตร์ (maithematical model) หรือศาสตร์ทางด้านการจัดการ (management science) หรือการวิจัยดำเนินงาน (operation research) เข้ามาใช้แก้ปัญหา
•ตัวอย่างของการตัดสินใจแบบโครงสร้างที่ใช้กับงานด้านธุรกิจ ได้แก่
- การตัดสินใจเกี่ยวกับการจัดสินค้าคงคลังจะต้องสั่งของเข้าคลังละเท่าไหร่
- การวิเคราะห์งบประมาณที่ต้องใช้ในการจัดการต่างๆ
- การตัดสินใจเรื่องการลงทุนว่าจะลงทุนอะไร สถานที่ตั้งโกดังเก็บสินค้าควรตั้งที่ไหน เป็นต้น

2 การตัดสินใจแบบกึ่งโครงสร้าง (semistructure)
•เป็นการตัดสินใจผสมระหว่างแบบโครงสร้างและแบบไม่มีโครงสร้าง คือบางส่วนสามารถตัดสินใจแบบมีโครงสร้างได้แต่บางส่วนไม่สามารถทำได้
•ปัญหาแบบกึ่งโครงสร้างนี้ จะใช้วิธีแก้ปัญหาแบบมาตรฐานและการพิจารณาโดยมนุษย์รวมเข้าไว้ด้วยกัน จึงมีขั้นตอนในการแก้ปัญหาไม่ชัดเจนและมีขั้นตอนที่ซับซ้อนมากกว่าแบบมีโครงสร้าง ปัญหาบางส่วนเขียนเป็นปัญหาทางคณิตศาสตร์ได้ แต่ปัญหาบางส่วนไม่สาสารถเขียนออกมาในรูปของแบบจำลองได้
•สารสนเทศที่ใช้จะเป็นสารสนเทศที่มีโครงสร้างและเป็นรูปแบบรายงานที่ชัดเจนและข้อมูลแนวโน้มต่างๆ  ที่มาจากแหล่งข้อมูลภายนอกองค์กร ตัวอย่างเช่น การทำสัญญาทางการค้า การกำหนดงบประมาณทางการตลาดสำหรับผลิตภัณฑ์ การตัดสินใจให้เครดิตกับลูกค้า  เป็นต้น

3 การตัดสินใจแบบไม่มีโครงสร้าง (Unstructure)
•เป็นการตัดสินใจที่ไม่มีหลักการหรือวิธีการที่แน่นอนที่สามารถนำมาใช้ตัดสินใจได้  อีกตั้งมีทางเลือกให้เลือกมากมายหลายทางเพื่อใช้แก้ปัญหาและตัวแปรที่เข้ามาเกี่ยวข้องในการตัดสินใจนั้นมีจำนวนมากและซับซ้อน มีโอกาสผิดพลาด หรือมีความเสี่ยงมากกว่าการตัดสินใจแบมีโครงสร้างและแบบกึ่งโครงสร้าง
•เป็นการตัดสินใจเกี่ยวกับปัญหาที่มีรูปแบบไม่ชัดเจนหรือมีความซับซ้อน จึงต้องใช้สัญชาติญาณ  ประสบการณ์ ความรู้และความชำนาญของผู้บริหารในการตัดสินใจ
•สารสนเทศที่ใช้ส่านใหญ่เป็นสารสรเทศที่มาจากภายนอกองค์กร เช่น ข้อมูลข่าวสารทางการเมือง  เศรษฐกิจทั้งภายในและภายนอกประเทศ และแนวโน้มของเทคโนโลยี เป็นต้น
•ตัวอย่างของการตัดสินใจแบบไม่มีโครงสร้าง เช่น การวางแผนการพัฒนาสินค้าหรือการบริการใหม่  การว่าจ้างผู้บริหารใหม่เพิ่ม  ปัญหาพนักงานประท้วง การเลือกชองโครงงานวิจัยและพัฒนาเพื่อนำไปใช้ในปีหน้า เป็นต้น

กระบวนการตัดสินใจของ  Herbert A. Simon
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
กระบวนการตัดสินใจของ Herbert A. Simon ได้แบ่งกระบวนการตัดสินใจออกเป็น 4 ขั้นตอนที่สำคัญ
-การกำหนดปัญหา
-การออกแบบ
-การตัดสินใจเลือกทางเลือก
-การนำไปปฏิบัติ



1.การกำหนดปัญหา (Intelligence Phase) เป็นการรวบรวมข้อเท็จจริง ความเชื่อ ความคิดและเหตุผลต่างๆเพื่อใช้ในการตัดสินใจ ผู้บริหารจะต้องมองเห็นว่าเกิดปัญหาอะไรในองค์กร ที่อาจจะเป็นอุปสรรคต่อการดำเนินงานขององค์กรหรือการดำเนินธุรกิจ ซึ่งหากรวบรวมข้อมูลได้ครบถ้วนมากเท่าใดก็สามารถนำไปกำหนดทางเลือกในการแก้ปัญหาที่ชัดเจนและแน่นอนได้มากขึ้นเท่านั้น

2.การออกแบบ (Design Phase) เป็นการสร้าง พัฒนา และวิเคราะห์ทางเลือกในการปฏิบัติที่เป็นไปได้ รวมทั้งการทดสอบและประเมินทางแก้ปัญหาเกิดขึ้น โดยการสร้างตัวแบบเพื่อการเปลี่ยนแปลงปัญหาให้อยู่ในรูปตัวแบบเชิงปริมาณ หรือตัวแบบทางคณิตศาสตร์ เพื่ออธิบายถึงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรทั้งหมด การตั้งสมมติฐานการกำหนดเงื่อนไขแบบต่างๆ และการทำทดสอบทางเลือกต่างๆที่มีความเป็นไปได้ในการนำมาใช้แก้ปัญหา

3.การตัดสินใจเลือกทางเลือก (Choice Phase) เป็นการตัดสินใจเลือกทางเลือกใดทางเลือกหนึ่งจากทางเลือกทั้งหมด ที่ได้มีการพิจารณาข้อดี ข้อจำกัด ตามหลักเกณฑ์การเลือกที่ได้กำหนดไว้ การตัดสินใจของผู้บริหารอาจเลือกทางเลือกที่ดีที่สุด หรือทางเลือกที่เหมาะสมกับสถานการณ์ในขณะนั้น เพื่อที่จะนำไปปฏิบัติซึ่งขึ้นอยู่กับไหวพริบ ประสบการณ์ความเด็ดขาด ความกล้าได้กล้าเสีย หรือวิสัยทัศน์ของผู้บริหารแต่ละคนด้วย


4.การนำไปปฏิบัติ (Implementation Phase) เป็นขั้นตอนในการนำทางเลือกที่เลือกไว้มาปฏิบัติจริงเพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นผู้บริหารจะต้องกำหนดว่าจะเริ่มดำเนินเมื่อใดและดำเนินการอย่างไร เมื่อนำไปปฏิบัติแล้วต้องมีการประเมินผลของทางเลือกที่นำมาใช้ในการแก้ปัญหา และผลการปฏิบัติเป็นไปตามเป้าหมายหรือไม่

ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการแต่ละชนิดที่สนับสนุนผู้บริหารแต่ละระดับ
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------



         ♦ระดับของผู้ใช้ระบบสารสนเทศ
         1. ผู้ปฏิบัติงาน (Worker) เป็นบุคลากรที่ดำเนินงานด้านการสนับสนุนและอำนวยความสะดวกให้กับบุคลากรฝ่ายต่างๆ เป็นผู้ทำกิจกรรมประจำวันตลอดจนจัดทำฐานข้อมูลและรายงานขององค์การ      
         2. ผู้บริหารระดับปฏิบัติการ (Operational Manager) หรือเรียกทั่วไปว่า หัวหน้างาน (Supervisors) ผู้บริหารระดับนี้จะทำหน้าที่ควบคุมและดูแลการดำเนินงานประจำวันของบุคลากรระดับปฏิบัติงานให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ      
         3. ผู้บริหารระดับกลาง (Middle Manager) เป็นผู้ที่กำกับการบริหารงานของผู้บริหารระดับปฏิบัติการ รวมทั้งวางแผนยุทธวิธีเพื่อให้การดำเนินงานขององค์การบรรลุเป้าหมาย นอกจากนี้ยังต้องทำหน้าที่ประสานงานกับผู้บริหารระดับสูงเพื่อรับนโยบาย แล้วนำมาวางแผนการปฏิบัติงาน      
        4. ผู้บริหารระดับสูง (Senior Manager) หรือเรียกทั่วไปว่า Executive Managers เป็นผู้บริหารระดับสูงสุดขององค์การ เป็นผู้ที่รับผิดชอบด้านการวางแผนกลยุทธ์ (Strategic Planing) ในการกำหนดเป้าหมาย  และวัตถุประสงค์ขององค์การ  ตลอดจนดูแลองค์การในภาพรวม

        ♦ระบบสารสนเทศที่ถูกนำไปใช้ในผู้บริหารแต่ละระดับ
1.ระบบสารสนเทศประมวลผลธุรกรรม (Transaction Processing Systems: TPS) เป็นระบบสารสนเทศประเภทแรกที่นิยมนำมาใช้อย่างแพร่หลาย เพื่อการประมวลผลที่รวดเร็ว ลดค่าใช้จ่าย และปรับปรุงการให้บริการลูกค้า ระบบสารสนเทศแบบประมวลผลธุรกรรมทำหน้าที่รวบรวม บันทึกข้อมูลในแฟ้มข้อมูล(File)  หรือฐานข้อมูล(Database)  และประมวลผลข้อมูลที่เกิดจากการทำธุรกรรมและการปฏิบัติงานประจำ (Routine) ขององค์การเพื่อนำไปจัดทำระบบสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลนั้นๆ โดยปกติพนักงานระดับปฏิบัติงานจะเป็นผู้จัดทำระบบสารสนเทศประเภทนี้ แต่ด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยี  ในปัจจุบันจึงได้มีการพัฒนาระบบการประมวลผลธุรกรรมที่ลูกค้าสามารถป้อนข้อมูลและประมวลผลรายการด้วยตนเองได้ เรียกระบบสารสนเทศลักษณะนี้ว่า Customer Integrated Systems หรือ CIS  เช่น ระบบฝาก-ถอนเงินอัตโนมัติ
       
2. ระบบสารสนเทศสำนักงาน (Office Information Systems: OIS) หรือระบบสำนักงานอัตโนมัติ (Office Automation Systems: OAS) เป็นระบบสารสนเทศที่นำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของผู้ปฏิบัติงานและผู้บริหาร  แบ่งได้เป็น 5 ประเภท  คือ  ระบบจัดการเอกสาร  ระบบการจัดการข่าวสาร  ระบบการทำงานร่วมกัน /ประชุมทางไกล  ระบบการประมวลภาพ  และระบบการจัดการสำนักงาน

3. ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (Management Information System: MIS)เป็นระบบสารสนเทศที่โดยปกติแล้วจะประมวลผลและสรุปผลจากแฟ้มข้อมูลหรือฐานข้อมูลที่ได้จาก TPS เพื่อจัดทำสารสนเทศตามความต้องการของผู้บริหารสำหรับนำไปใช้ในการวางแผน ควบคุม  กำกับดูแล  สั่งการ  และประกอบการตัดสินใจ  โดยสามารถจำแนกได้เป็น 4 ประเภทดังนี้            
3.1 รายงานที่จัดทำตามระยะเวลาที่กำหนด (Periodic Reports) เป็นรายงานที่จัดทำขึ้นตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ล่วงหน้า ซึ่งอาจเป็นรายงานที่จัดทำขึ้นทุกวัน ทุกสัปดาห์ ทุกเดือน หรือทุกๆ ปี            
3.2 รายงานสรุป (Summarized Reports) เป็นรายงานที่จัดทำเพื่อสรุปการดำเนินงานโดยภาพรวม  โดยปกติจะแสดงผลในรูปของตารางสรุปจำนวนและกราฟเปรียบเทียบ            
3.3 รายงานที่จัดทำตามเงื่อนไขเฉพาะ (Exception Reports) เป็น รายงานที่จัดทำตามเงื่อนไขพิเศษไม่อยู่ในเกณฑ์การจัดทำรายงานตามปกติ  มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้บริหารได้ใช้สารสนเทศสำหรับการตัดสินใจอย่างทันเวลา            
3.4 รายงานที่จัดทำตามความต้องการ (Demand Reports) เป็นรายงานที่มีลักษณะตรงข้ามกับรายงานที่จัดทำตามระยะเวลาที่กำหนด ซึ่งรายงานจะกระทำตามเวลาอย่างสม่ำเสมอ ในขณะที่ Demand Reports จะจัดทำเมื่อผู้บริหารมีความต้องการในรายงานนั้นๆ เท่านั้น

4.ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support Systems: DSS) เป็นระบบสารสนเทศที่นำข้อมูลจากฐานข้อมูลต่างๆ มาใช้ในการตัดสินใจ และจะช่วยสนับสนุนการแก้ปัญหาและตัดสินใจเฉพาะกรณีตามที่ผู้บริหารต้องการ เป็นการเน้นการตัดสินใจอย่างมีประสิทธิภาพ ลักษณะสำคัญของ DSS คือ จะต้องเป็นระบบที่ให้สารสนเทศอย่างรวดเร็วต่อการตัดสินใจ เพื่อใช้ในการแก้ปัญหาและกำหนดกลยุทธ์ ดังนั้น DSS จึงควรออกแบบในลักษณะที่โต้ตอบกับผู้ใช้เพื่อสืบค้นข้อมูลจากฐานข้อมูล ซึ่งผู้บริหารมีบทบาทสำคัญยิ่งต่อการกำหนดรูปแบบการพัฒนา DSS 

5.ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหารระดับสูง (Executive Information Systems: EIS หรือ Executive Support Systems: ESS) เป็นระบบสารสนเทศที่ช่วยสนับสนุนการวิเคราะห์ปัญหา ศึกษาแนวโน้ม และการวางแผนกลยุทธ์  ผู้บริหารสามารถเข้าถึงสารสนเทศโดยกำหนดมุมมองได้ในรูปแบบต่างๆ  จึงเป็นระบบที่มีความยืดหยุ่นและคล่องตัวสูง  และรวดเร็วต่อความต้องการ  ใช้งานได้ง่าย EIS  สามารถเข้าถึงสามาสนเทศจากฐานข้อมูลภายในและภายนอกองค์การและจะนำเสนอสารสนเทศที่ได้จากการวิเคราะห์ในรูปของรายงาน  ตาราง  และกราฟ  เพื่อการสรุปสารสนเทศให้ผู้บริหารได้เข้าใจง่ายและประหยัดเวลา

6.ระบบงานสร้างความรู้ (KWS) เป็นระบบที่ช่วยสนับสนุนบุคลากรที่ทำงานด้านการสร้างความรู้เพื่อพัฒนาการคิดค้น สร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ บริการใหม่ ความรู้ ใหม่ เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในหน่วยงาน หน่วยงานต้องนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาสนับสนุนให้การพัฒนาเกิดขึ้นได้โดยสะดวก สามารถแข่งขันได้ทั้งในด้านเวลา คุณภาพ และราคา ระบบต้องอาศัยแบบจำลองที่สร้างขึ้น ตลอดจนการทดลองการผลิตหรือดำเนินการ ก่อนที่จะนำเข้ามาดำเนินการจริงในธุรกิจ ผลลัพธ์ ของระบบนี้ มักอยู่ในรูปขอสิ่งประดิษฐ์ ตัวแบบ รูปแบบ เป็นต้น 
        ฐานข้อมูลความรู้เพื่อการจัดการ ( Knowledge Work System : KWS )ใช้สนับสนุนการทำงานของพนักงานกลุ่มที่มีความรู้สูง (Knowledge Workers) เช่น วิศวกร แพทย์ นักกฎหมาย นักวิทยาศาสตร์ เป็นพนักงานกลุ่มที่มีความรู้สูงได้รับการยอมรับอย่างเป็นทางการ ระบบนี้ ใช้รับผิดชอบการสร้างข่าวสารให้เป็นประโยชน์ หรือองค์ความรู้ใหม่ ๆ